การพัฒนาเว็บเพจการเรียนการสอนระบบ E-learning รายวิชา ระบบฐานข้อมูล
ด้วยโปรแกรม Publisher
ภูมิหลัง
ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในระบบงานต่าง ๆ ร่วมกันได้ โดยที่จะไม่เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และยังสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลด้วย อีกทั้งข้อมูลในระบบก็จะถูกต้องเชื่อถือได้ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยจะมีการกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลขึ้น
นับได้ว่าปัจจุบันเป็นยุคของสารสนเทศ เป็นที่ยอมรับกันว่า สารสนเทศเป็นข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรองอย่างเหมาะสม สามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้งานด้านธุรกิจ การบริหาร และกิจการอื่น ๆ องค์กรที่มีข้อมูลปริมาณมาก ๆ จะพบความยุ่งยากลำบากในการจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนการนำข้อมูลที่ต้องการออกมาใช้ให้ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล ซึ่งทำให้ระบบการจัดเก็บข้อมูลเป็นไปได้สะดวก ทั้งนี้โปรแกรมแต่ละโปรแกรมจะต้องสร้างวิธีควบคุมและจัดการกับข้อมูลขึ้นเอง ฐานข้อมูลจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้คอมพิวเตอร์ การออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูล จึงต้องคำนึงถึงการควบคุมและการจัดการความถูกต้องตลอดจนประสิทธิภาพในการเรียกใช้ข้อมูลด้วย
โปรแกรมฐานข้อมูล เป็นโปรแกรมหรือซอฟแวร์ที่ช่วยจัดการข้อมูลหรือรายการต่าง ๆ ที่อยู่ในฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ การเรียกใช้ การปรับปรุงข้อมูล
โปรแกรมฐานข้อมูล จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งโปรแกรมฐานข้อมมูลที่นิยมใช้มีอยู่ด้วยกันหลายตัว เช่น Access, FoxPro, Clipper, dBase, FoxBase, Oracle, SQL เป็นต้น โดยแต่ละโปรแกรมจะมีความสามารถต่างกัน บางโปรแกรมใช้ง่ายแต่จะจำกัดขอบเขตการใช้งาน บ่งโปรแกรมใช้งานยากกว่า แต่จะมีความสามารถในการทำงานมากกว่า
โปรแกรม Access นับเป็นโปรแกรมที่นิยมใช้กันมากในขณะนี้ โดยเฉพาะในระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถสร้างแบบฟอร์มที่ต้องการจะเรียกดูข้อมูลในฐานข้อมูล หลังจากบันทึกข้อมูลในฐานข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จะสามารถค้นหาหรือเรียกดูข้อมูลจากเขตข้อมูลใดก็ได้ นอกจากนี้ Access ยังมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยการกำหนดรหัสผ่านเพื่อป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลในระบบได้ด้วย
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
1.เพื่อให้ผู้ที่มาศึกษาได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับ วิชา ระบบฐานข้อมูล
2.เพื่อให้ผู้ที่ศึกษาได้เรียนรู้เนื้อหาจากสื่อการเรียนการสอน
3.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสื่อการเรียนการสอน
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
1.สร้างเว็บเพจรายงาน วิชาระบบฐานข้อมูล
2.การศึกษาครั้งนี้เราใช้หลักการการพัฒนาระบบฐานข้อมูล
3.ระบบ E-Learning จำเป็นต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
3.1.แสดงส่วนผลของผู้ใช้งาน (User)
3.2.มีเนื้อหาบทเรียนอย่างน้อย 5 บท
3.3.มีการทดสอบการเรียนรู้ อย่างน้อยหนึ่งครั้ง เช่น ก่อนเรียน หรือ หลังเรียน
3.4.มีกระดานข่าว ( Web Board )
3.5.มีแบบสำรวจความคิดเห็น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่ศึกษาได้หาความรู้ได้ง่ายขึ้น
2.เป็นการเผยแพร่รายวิชาระบบฐานข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต
3.มีผู้เข้าชมเว็บ E-Learning
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.นำเสนอหัวข้อต่อกรรมการโครงการ
2.ศึกษาและรวบรวมข้อมูล
3.วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
4.พัฒนาระบบงาน
5.ทดสอบและปรับปรุงระบบงาน
6.จัดทำรายงานการศึกษาค้นคว้า
7.เสนอผลงานต่อคณะกรรมการโครงการ
8.แสดงผลงานทางวิชาการ
นิยามศัพท์เฉพาะ
1.E-Learning หมายถึง การเรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต หรือทางสัญญาณโทรศัพท์ หรือทางสัญญาณดาวเทียม (Satellite) ก็ได้ ซึ่งเนื้อหาสารสนเทศอาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกันมาพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer – Assisted Instruction) การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction ) การเรียนออนไลน์ (On – line Learning ) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรืออาจอยู่ในลักษณะที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เช่น การเรียนจากวิดีโอโทรทัศน์ตามอัธยาศัย (Video On-Demand) เป็นต้น
2.ระบบฐานข้อมูล หมายถึง แหล่งที่ใช้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปแฟ้มข้อมูลมารวมไว้ที่เดียวกัน รวมทั้งต้องมีส่วนของพจนานุกรมข้อมูล (data dictionary) เก็บคำอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างของฐานข้อมูล และเนื่องจากข้อมูลที่จัดเก็บนั้นต้องมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทำให้สามารถสืบค้น (retrieval) แก้ไข (modified) ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ข้อมูล (update) และจัดเรียง (sort) ได้สะดวกขึ้นโดยในการกระทำการดังที่กล่าวมาแล้ว ต้องอาศัยซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับจัดการฐานข้อมูล
3.อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติ ที่มีสายตรงเชื่อมต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั่วโลก. ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางอีเมล์ สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้. อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง (เช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย, องค์กร หรือเครือข่ายของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต) มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผล
สมาชิกในกลุ่ม
1.นางสาวเจนจิรา ทองโคตร เลขที่ 9
2.นางสาวสุพัตรา ถนอมพลกรัง เลขที่ 24
3.นางสาวจิดาภา เชื้อสาวะถี เลขที่ 4
4.นางสาวจริยา รัดถา เลขที่ 3
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น