วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โปสเตอร์



วรรณสี : สีวรรณเย็น เพราะเป็นสีที่ใช้เกี่ยวกับทางวัด ใช้สีที่ทำให้เคารพนับถือ มองแล้วรู้สึกสงบ สบายใจ
จุดเด่น : คือโบสถ เน้นโบสถเป็นจุดสำคัญ ใช้กฎสามส่วน(Rule of Third)ที่ประกอบทำให้โบสถดูโดดเด่นขึ้น

เอกภาพ : เปนอันหนึ่งอันเดียวกัน มีลักษณะเป็นแนวเดียวกัน ให้ความหมายและเรื่องราวในการสร้างโบสถ

การใช้ฟอนต์ : ใช้ฟอนต์ที่อ่านง่าย มองแล้วสบายตา ตัวหนังสือเหมาะสม

ที่ว่างในการออกแบบ : เว้นที่ว่างในการออกแบบ ตัวหนังสือ รูปภาพ ไม่ติดกันมากเกินไป ที่ว่างที่อยู่รอบๆองค์ประกอบทำให้เกิดความเป็นพื้นภาพ

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โปสเตอร์สร้างโบสถ


วรรณสี : สีวรรณเย็น เพราะเป็นสีที่ใช้เกี่ยวกับทางวัด ใช้สีที่ทำให้เคารพนับถือ มองแล้วรู้สึกสงบ สบายใจ

จุดเด่น : คือโบสถ เน้นโบสถเป็นจุดสำคัญ ใช้กฎสามส่วน(Rule of Third)ที่ประกอบทำให้โบสถดูโดดเด่นขึ้น

เอกภาพ : เปนอันหนึ่งอันเดียวกัน มีลักษณะเป็นแนวเดียวกัน ให้ความหมายและเรื่องราวในการสร้างโบสถ

การใช้ฟอนต์ : ใช้ฟอนต์ที่อ่านง่าย มองแล้วสบายตา ตัวหนังสือเหมาะสม

ที่ว่างในการออกแบบ : เว้นที่ว่างในการออกแบบ ตัวหนังสือ รูปภาพ ไม่ติดกันมากเกินไป ที่ว่างที่อยู่รอบๆองค์ประกอบทำให้เกิดความเป็นพื้นภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โปสเตอร์สร้างโบสถ


วรรณสี : สีวรรณเย็น สร้างความนใจให้ผู้ชมเพราะเป็นสีที่ใช้เกี่ยวกับทางวัด ใช้สีที่ทำให้เคารพนับถือ มองแล้วรู้สึกสงบ

จุดเด่น : คือโบสถ เน้นโบสถเป็นจุดสำคัญ ใช้กฎสามส่วนที่ประกอบทำให้โบสถดูเด่นขึ้น

เอกภาพ : เปนอันหนึ่งอันเดียวกัน มีลักษณะเป็นแนวเดียวกัน

การใช้ฟอนต์ : ใช้ฟอนต์ที่อ่านง่าย มองแล้วสบายตา

ที่ว่างในการออกแบบ : เว้นที่ว่างในการออกแบบ ตัวหนังสือ รูปภาพ ไม่ติดกันมากเกินไป ที่ว่างที่อยู่รอบๆองค์ประกอบทำให้เกิดความเปนพื้นภาพ











วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ภาพวิว

การใช้วรรณะของสี : สีวรรณะเย็น จุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความสนใจ ส่วนใหย่ประกอบไปด้วยสีเขียวทำให้รู้สึกสงบมีชีวิตชีวา

การเลือกสี : ใช้ชุดสีที่ใกล้เคียงกัน ทำให้กลมกลืนไม่น่าเบื่อ ไม่จืดชืด มองแล้วสดใส คือเป็นภาพทุ่งหญ้าและเน้นที่รูปภาพทำให้รูปภาพดูเด่น ดูเปนธรรมชาติ

การวางองค์ประกอบภาพให้โดดเด่น : จะเน้นจุดให้มองเห็นได้ง่าย ใช้กฎสามส่วน (Rule of Third) ก็จะเปนองค์ประกอบที่ทำให้ภาพดูเด่น

ภาพและพื้นภาพ : ทำให้มองเห็นองค์ประกอบหลักว่าสื่อถึงวิวธรรมชาติ และออกแบบเพิ่มรูปภาพทำให้มีความสัมพันธ์กับภาพเพิ่มขึ้น ทำให้งานหลักดูเด่น





นางสาวสุพัตรา  ถนอมพลกรัง  เลขที่ 12  สสท.1/1

วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

My Princess


ภาพนี้สื่อถึงซีรี่เรื่องนี้คือเป็นแนวรักโรแมนติก โทนของสีที่ใช้ตกแต่งภาพจะใช้สีที่ทำให้รู้สึกสบายตา สดใส มองดูแล้วมีชีวิตชีวา และรูปภาพจะเข้ม และลดความเข้มลงมาเรื่อยๆ ดูแล้วจะทำให้เกิดความรู้สึกไม่รุนแรง คลาสสิก และการใช้ฟอนต์จะตรงกับแนวของซีรี่ คือซีรี่เกาหลี ทำให้ฟอนต์กับภาพสื่อความหมายเดียวกัน  และการออกแบบภาพมีที่ว่างจัดให้ลงตัว มีความเหมาะสม


นางสาวสุพัตรา  ถนอมพลกรัง  เลขที่ 12 สสท.1/1

วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โปรเตอร์ละครบ่วง

ใช้สีโทนสีดำเพราะเป็นละครผี และใช้ชุดสีที่ใกล้เคียงกันทำให้อารมณ์ความรู้สึกอารมณ์เดียวกัน จะใช้สีทำให้น่ากลัวเพราะเป็นละครผี และวางจุดสนใจคือรูปภาพของนักเรียนที่ตัดต่อภาพและสร้างความสมดุลของภาพให้ดูน่าสนใจ ฟอนต์อ่านง่ายและเข้ากับแนวของละคร




นางสาวสุพัตรา  ถนอมพลกรัง เลขที่ 12 สสท.1/1

วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

คอมพิวเตอร์กราฟิก (Computer Graphics)


หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
คอมพิวเตอร์กราฟิก (Computer Graphics)
1.               ทฤษฏีสี (COLOR THEORY)
สี (Color) นับว่ามีความสําคัญมากในการออกแบบเว็บไซต์ มีอิทธิพลในการดึงดูดความสนใจ กําหนดบรรยากาศและความรู้สึกโดยรวมเราสามารถใช้สีได้กับทุกองค์ประกอบของเว็บเพจ  ตั้งแต่ตัวอักษร รูปภาพ สีพื้นหลัง สีพื้นหลังรูปภาพ
2.               วรรณะสี
สีคือลักษณะของแสงที่ปรากฏแก่สายตาให้เห็นเป็นสีในทางวิทยาศาสตร์ให้คําจํากัดความของสีว่า เป็นคลื่นแสงหรือความเข้มของแสงที่สายตาสามารถมองเห็น
ในชีวิตของมนุษย์มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสีต่าง ๆ โดยบอกประโยชน์ของสีได้ดังนี้
       1. ใช้ในการจําแนกสิ่งต่าง ๆ เพี่อให้เห็นชัดเจน
       2. ใช้ในการจัดองค์ประกอบของสิ่งต่าง ๆเพื่อให้เกิดความสวยงาม เช่น การแต่งกาย
       3. ใช้ในการจัดกลุ่ม พวก คณะด้วยการใช้สีต่าง ๆ เช่น คณะสีเครื่องแบบต่าง ๆ
       4. ใช้ในการสื่อความหมาย เป็นสัญลักษณ์หรือใช้บอกเล่าเรื่องราว
       5. ใช้ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ เพื่อให้เกิดความสวยงามและน่าสนใจ
       6. เป็นองค์ประกอบในการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ของมนุษย์  
2.1 การใช้สีวรรณะเดียว
ความหมายของสีวรรณะเดียว (Tone) คือกลุ่มสีที่แบ่งออกเป็นวงล้อสีเป็น 2วรรณะ คือ
2.2.1                        วรรณะร้อน (Warm Tone) ซึ่งประกอบด้วย สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีม่วง
2.2.2       วรรณะร้อนวรรณะเย็น(Cool Tone) ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน สีม่วง สีเหล่านี้ดูเย็นตาให้ความรู้สึก สงบ มีชีวิต ชีวา มีความหวัง
2.2 การใช้สีต่างวรรณะ
โดยทั่วไปใช้อัตราส่วน 80% ต่อ 20% ของวรรณะสี คือถ้าใช้สีวรรณะร้อน 80% สีวรรณะเย็น 20% เป็นต้น ซึ่งการใช้แบบนี้สร้างจุดเด่น จุดสนใจของผู้ชม
2.3 การใช้สีตรงกันข้าม
สีตรงข้ามจะทําให้มีความรู้สึกตัดกันรุนแรง แตกหักสร้างความเด่นและเร้าใจได้มากแต่หากใช้ไม่ถูกหลัก หรือไม่เหมาะสมหรือใช้จํานวนสีมากจนเกินไป ก็จะทําให้ความรู้สึกพร่ามัวขัดแย้งสายตาควรใช้สีตรงข้าม ในอัตราส่วน 80% ต่อ 20%
3.             การเลือกใช้สีเพื่อการออกแบบเว็บ
แม่สี   ในวงการศิลปะจะมีอยู่ด้วยกัน 3 สี คือ น้ำเงิน เหลือง แดงซึ่งเวลาผสมสี จะนึกออกอย่างแรกเลยคือ RGB สีอื่นที่อยู่ระหว่างสีทั้ง 3 สีจะเกิดจากการผสมกันของแม่สีทั้ง 3 สี โดยแบ่งสีออกเป็นสองวรรณะคือ วรรณะร้อน และวรรณะเย็น
3.1 การเลือกใช้ชุดสีอ่อนไปหาเข้ม (ตามน้ำหนักของสี)
คือสีหลักหนึ่งสีและลดความเข้ม ความอ่อน ของสี สีชุดนี้จะทําให้เกิดความรู้สึกไม่รุนแรงวู่วาม ทําให้รู้สึกอ่อนโยน คลาสสิก
3.2 ชุดสีคู่ตรงข้าม
เป็นสีที่อยู่ตรงข้ามกันสุดๆ ในวงจรสีให้ความรู้สึกตื่นเต้นเร้าใจ หักดิบ
3.3 ชุดสีใกลเคียงกัน
เป็นชุดสีที่กลมกลืนและไม่น่าเบื่อเลือกมาจากสีที่อยู่ติดๆ กัน 3 -5 สี จากวงจรสีไม่จืดชืด
4.                อารมณและความหมายของสี
4.1 สีแดงจะทําให้รู้สึกถึงพลังที่เข้มแข็ง ตื่นเต้น เร้าใจ เร่าร้อน มีความอบอุ่น
4.2 สีเหลือง เป็นสีที่ให้อารมณ์สดใส ปลอดโปร่ง ให้ความหวัง ความทันสมัย สีเหลืองจะดึงดูด
สายตาได้ดีและมองเห็นได้แต่ไกล
4.3 สีน้ำเงิน จะให้ความหมายแห่งความสงบเงียบ สุขุม เยือกเย็น รอบคอบ อารมณ์หรูหรา มีระดับ
4.4 สีเขียวเป็นสีของธรรมชาติ ทําให้เกิดความสดชื่น ชุ่มชื่น ราบเรียบ สบายตา บางครั้งก็มองถึง
ต้นไม้ ป่าเขา ลําเนาไพร ในทางตรงกันข้ามจะมองไปถึงการย่อยสลายของธรรมชาติ  สารเคมีหรือ
สารพิษต่าง ๆ
4.5 สีขาว เป็นสีที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะจะใช้กับสีไหนก็ได้ จะทําให้มองว่าเป็นสีเรียบง่าย
สะอาด โล่งสบาย บริสุทธิ์  แสดงถึงความสะอาดบริสุทธิ์
4.6 สีฟ้าแสดงถึงความสว่าง ความปลอดโปร่ง เปรียบเหมือนท้องฟ้า เป็นอิสระ เป็นสีของความสะอาด ปลอดภัยสีขององค์การอาหารและยา (อย.) แสดงถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
5.            ประโยชน์ของสีในการออกแบบเว็บ
สีเป็นเครื่องมือเอนกประสงค์อย่างหนึ่งที่มีความสําคัญมากในการออกแบบเว็บเนื่องจากสีสามารถสื่อถึงความรู้สึกและอารมณ์ และยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานที่กับเวลาอีกด้วย
ซึ่งสามารถจําแนกประโยชน์ของสีได้ดังนี้
1. สีสามารถชักนําสายตาผู้อ่านให้ไปยังทุกบริเวณในหน้าเว็บ ผู้อ่านจะมีการเชื่อมโยง ความรู้สึกกับบริเวณของสีในรูปแบบที่คาดหวังได้ การเลือกเฉดสีและตําแหน่งของสีอย่างรอบคอบ
ในหน้าเว็บไซต์สามารถนําทางสายตาให้ผู้อ่านติดตามเนื้อหาได้เป็นอย่างดี
2. สีช่วยเชื่อมโยงบริเวณที่ได้รับการออกแบบเข้าด้วยกัน ทําให้ผู้อ่านจะมีความรู้สึกว่าบริเวณที่มีสีเดียวกันจะมีความสําคัญเท่ากัน การเชื่อมโยงแบบนี้จะช่วยจัดกลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์อย่างไม่เด่นชัดเข้าด้วยกัน


3. สีสามารถช่วยดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน นำสายตาผู้อ่านให้มองไปยังสีที่มีลักษณะเด่น
หรือผิดปกติเสมอ การออกแบบเว็บไซต์ด้วยการเลือกใช้สีอย่างรอบคอบช่วยดึงดูดผู้ชมให้เข้าไปอยู่ในเว็บไซต์ได้นานยิ่งขึ้น
4. สีช่วยสร้างระเบียบให้กับข้อความต่าง ๆ เช่นการใช้สีแยกระหว่างหัวข้อกับเนื้อเรื่อง หรือสร้างความแตกต่างให้กับข้อความบางส่วน หรือบางทีก็ใช้เตือนเช่น สีแดงใช้สําหรับคําเตือนกฎจราจรหรือสีเทาใช้สําหรับเป็นทางเลือก
5. สีสามารถสร้างอารมณ์โดยรวมของเว็บ และกระตุ้นความรู้สึกตอบสนองจากผู้ชมได้ นอกเหนือจากความรู้สึกที่ได้รับจากสีตามหลักจิตวิทยาแล้วผู้ชมยังอาจมีอารมณ์และความรู้สึกสัมพันธ์กับสีบางสี หรือบางกลุ่มเป็นพิเศษ

6.            การออกแบบฟอนต์เพื่องานออกแบบเว็บ
6.1 การใช้สีกับฟอนต์
การใช้สีกับตัวอักษรจะทําให้เว็บไซต์ดูโดดเด่นขึ้นมา ซึ่งเราจะใช้ตัวหนาหรือตัวเอียงร่วมด้วยก็ได้ เราไม่ควรใช้สีที่สว่าง หรือจัดจ้านเกินไป เพราะเมื่อผู้ชมอ่านเนื้อหานาน ๆ จะทําให้รู้สึกแสบตาได้ ขณะเดียวกันก็ไม่ควรใช้สีที่ใกล้เคียงกับสีพื้น เพราะทําให้ผู้ชมมองไม่เห็น

6.2 ชนิดของฟอนต์ (Type Style)
ชนิดของตัวอักษรหรือตัวหนังสือเป็นสิ่งแรกที่ต้องทําความรู้จัก โดยจะแบ่งชนิดตัวอักษรตามการทํางานเป็น 2 ประเภทคือ อักษรภาษาอังกฤษ กับอักษรภาษาไทย
6.3 ขนาดของฟอนต์ (FontSize) ในการออกแบบเว็บ
ขนาดของตัวอักษร ต้องรู้จักใช้ให้เหมาะสม ขนาดอักษรมีหน่วยที่รู้จักกันดีที่สุดคือพอยท์(Point) ในการใช้ตัวอักษรในงานกราฟิก งานสิ่งพิมพ์ งานเว็บไซต์ โดยทั่วไป ขนาดของตัวอักษรที่เหมาะสมกับสายตาคนทั่วไปมากที่สุดจะอยู่ที่14 พอยท์ซึ่งจะทําให้อ่านสบายตาพอดี ส่วนจะใหญ่หรือจะเล็กให้แล้วแต่คนออกแบบและกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ
7.              การจัดองค์ประกอบภาพสําหรับงานออกแบบเว็บ
7.1 ความมีเอกภาพ (Unity)
เอกภาพ คือสิ่งที่ทําให้งานสื่อความหมายออกมาตามวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ซึ่งงานที่ออกแบบต้องมีความกลมกลืน (Harmony) เป็นพวกพ้อง อันหนึ่งอันเดียวกัน องค์ประกอบของภาพแต่ละจุดต้องมีความสัมพันธ์ สอดคล้อง ไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากความสัมพันธ์กันแล้ว ความซ้ำ และความต่อเนื่องของภาพ ก็เป็นปัจจัยที่สําคัญที่ทําให้ภาพเกิดความมีเอกภาพที่ดีได้
      7.2 เสริมจุดเด่น เน้นจุดสําคัญ (Emphasize)
เมื่อภาพที่ได้มีความเป็นเอกภาพแล้ว องค์ประกอบด้านกราฟิกต่อไปคือ การสร้างหรือเสริมจุดเด่น เน้นจุดสําคัญ เพื่อทําให้งานน่าสนใจ
     7.3 การวางจุดสนใจ (Focus Point)
สิ่งแรกทุกคนกังวลใจคือ ไม่รู้ว่าจะวางจุดไหนที่ คิดว่าจะเป็นจุดเด่นที่สุด ซึ่งถ้าไม่ มีประสบการณ์ และหลักการที่ดีแล้วเป็นการยากที่จะบอกได้ว่าจุดไหนที่วางแล้วทําให้องค์ประกอบกราฟิกดู เด่น สง่า นําสายตาผู้ชมได้ดี
     7.4 การวางองค์ประกอบภาพให้ดูโดดเด่น (Isolation)
การวางองค์ประกอบให้ภาพโดดเด่นจะเน้นจุดสนใจ  จะใช้กฎสามส่วนในการออกแบบช่วยในการวางองค์ประกอบให้ถูกหลักการมากยิ่งขึ้นการสร้างความแตกต่างหรือจุดเด่น เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยาก การมองเรื่องความสมดุล(Balance)ในการออกแบบ การมองที่ว่าง(Spacing) ในการออกแบบทุกองค์ประกอบมีจุดหมายเดียวกันคือ การผสมผสานให้ งานครบองค์ประกอบดูดีลงตัวสื่อความหมายของงานได้อย่างชัดเจนกฎสามส่วน (Rule of Third) หรือ กฎจุดตัดสีจุด ก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่วางภาพให้ดูเด่นสง่าสื่อความหมายของงานกราฟิกได้ดียิ่งขึ้น
    7.5 ความสมดุล (Balance)
เป็นองค์ประกอบที่สําคัญในงานออกแบบกราฟิก ส่งเสริมให้งานที่ได้มีเอกภาพ ซึ่งความ
สมดุลแบ่งได้ 2 อย่างคือสมดุลที่เหมือนกันและสมดุลที่ไม่เหมือนกัน
1. สมดุลที่เหมือนกัน
2. สมดุลที่ไม่เหมือนกัน
    7.6 สร้างความเหมือนที่แตกต่าง (Contrast)
ความแตกต่างเป็นตัวกําหนดความน่าสนใจหรือความโดดเด่นในงานได้ดี ขณะเดียวกันใน
การออกแบบงานโดยใช้การสร้างความแตกต่างนั้น ต้องระวัง เพราะการสร้างองค์ประกอบให้ภาพ
มีความแตกต่างมากเกินไป จะทําให้องค์ประกอบนั้นหลุดออกจากกรอบของงาน ทําให้ได้งานที่ไม่
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือขาดความมีเอกภาพ และองค์ประกอบนั้นจะเป็นสิ่งแปลกประหลาดใน
ภาพมากกว่าจะเป็นจุดที่น่าสนใจในที่สุด
      7.7 ที่ว่างในงานออกแบบ (Spacing)
ในงานออกแบบกราฟิกหรืองานออกแบบงาน 2 มิติ และ 3 มิติ นอกจากองค์ประกอบหลัก
ที่เราได้พยายามจัดให้ลงตัวแล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่มีอิทธิพลมากกับภาพที่เราออกแบบ แต่นักออกแบบจํานวนไม่น้อยมองข้ามไปนั้นคือ ที่ว่าง (space) ที่ว่างที่อยู่รอบ ๆ องค์ประกอบภาพจะสอดประสานกับองค์ประกอบที่อยู่ภายในภาพ ทําให้เกิดภาพความเป็นพื้นภาพ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการสื่อความหมายของงานออกแบบได้
7.7.1 ภาพและพื้นภาพ (Figure & Background)  สิ่งสําคัญอย่างหนึ่งมีอิทธิพลต่องานคือ ความสัมพันธ์ของพื้นภาพด้วย ในการมองภาพ สมองของเราจะสั่งการให้รับรู้ความสําคัญขององค์ประกอบในภาพต่าง ๆ กันไป เรามองเห็นสิ่งที่เป็นองค์ประกอบหลักที่ถูกเน้นให้เด่นกว่าเป็นตัวงาน เป็นตัวภาพ (Figure) ส่วนที่ว่างรอบ ภาพหรือองค์ประกอบที่เหลือนั้นจะกลายเป็นพื้นภาพ ไปโดยอัตโนมัติอาจกล่าวได้ว่า ภาพเป็นตัวหลัก พื้นภาพเป็นรอง
7.7.2 พื้นที่ของภาพและพื้นภาพ (Positive & NegativeSpace) งานออกแบบกราฟิกที่ดีนั้น
จะต้องมีความสัมพันธ์ของภาพและพื้นภาพที่ดีพื้นภาพในงานเป็นเสมือนองค์ประกอบที่ส่งเสริมตัวภาพหรืองานหลักให้ดูโดดเด่น มากกว่า ซึ่งการส่งเสริมกันนั้นก็ขึ้นอยู่กับขนาดและรูปร่างของพื้นที่ว่าง  ๆ
รอบ ๆ ภาพ หรืออาจเรียกว่า (Positive & NegativeSpace) เป็นสําคัญ
8.             หลักการสร้างงานกราฟิกเพื่อการออกแบบเว็บ
เมื่อเราได้แนวทางของชิ้นงานแล้วว่าจะเสนอเรื่องอะไร จะใช้สีอะไร รูปภาพและข้อความเป็นอะไร
และรูปภาพพื้นเป็นอะไร ทุกอย่างจะไม่ตายตัวเสมอไป ให้ดูที่แนวทาง วัตถุประสงค์ และสภาพแวดล้อมขณะนั้นเป็นองค์ประกอบด้วย
- การกำหนดพื้นหลังของภาพ
- การเลือกภาพที่ต้องการใช้งาน
- จัดวางภาพให้เหมาะสม
- การใส่ข้อความ
- การนำภาพส่วนประกอบมาซ้อนกัน
- การตกแต่งรูปภาพให้เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน