วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

ช่องทางการสื่อสารข้อมูลของคอมพิวเตอร์

1.) Rs232การสื่อสารแบบอนุกรม นับว่ามีความสำคัญ ต่อการใช้งาน ไมโครคอนโทรลเลอร์มาก เพราะสามารถใช้แป้นพิมพ์ และจอภาพของ PC เป็น อินพุต และ เอาต์พุต ในการติดต่อ หรือ ควบคุม ไมโครคอนโทรลเลอร์ ด้วยสัญญาณอย่างน้อย เพียง 3 เส้นเท่านั้น คือ- สายส่งสัญญาณ TX- สายรับสัญญาณ RX- และสาย GND โดยปกติพอร์ตอนุกรม RS-232C จะสามารถต่อสายได้ยาว 50 ฟุตโดยประมาณ ขึ้นอยู่กับ ชนิดของ สายสัญญาณ, ระยะทาง, และ ปริมาณ สัญญาณ รบกวน


พอร์ตอนุกรมของ PC DB9 ตัวผู้ (Male)


พอร์ตอนุกรมของอุปกรณ์ภายนอก DB9 ตัวเมีย (Female)





-พอร์ตอนุกรมของ PC จะเป็นคอนเน็คเตอร์แบบ DB9 ตัวผู้ (Male)
-พอร์ตอนุกรม ของอุปกรณ์ภายนอก จะเป็นคอนเน็คเตอร์แบบ DB9 ตัวเมีย(FeMale)


แสดงการจัดขา ของคอนเน็กเตอร์ อนุกรมแบบ DB9 และหน้าที่การใช้งานต่างๆ


DB9 ตัวผู้ เมื่อมองจากด้านหลัง



การเชื่อมต่ออุปกรณ์อุกรณ์ภายนอกเข้ากับคอมพิวเตอร์ด้วยสาย DB9

การเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกผ่าน DB9 แบบ Null modem

การต่ออุปกรณ์ภายนอกผ่าน DB9 แบบ 3 เส้น



การทำงานของขาสัญญาณ DB9

TXD เป็นขาที่ใช้ส่งข้อมูล RXD เป็นขาที่รับใช้ข้อมูล DTR แสดงสภาวะพอร์ตว่าเปิดใช้งาน ,DSR ตรวจสอบว่าพอร์ต ที่ติดต่อด้วย เปิดอยู่หรือไม่ - เมื่อเปิดพอร์ตอนุกรม ขา DTR จะ ON เพื่อให้อุปกรณ์ได้รับทราบว่าต้องการติดต่อด้วย - ในขณะเดียวกันก็จะตรวจสอบขา DSR ว่าอุปกรณ์พร้อมหรือไม่

RTS แสดงสภาวะพอร์ตว่าต้องการส่งข้อมูล ,CTS ตรวจสอบว่าพอร์ตที่ติดต่ออยู่ ต้องการส่งข้อมูลหรือไม่ - เมื่อต้องการส่งข้อมูลขา RTS จะ ON และจะส่งข้อมูลออกที่ขา TXD เมื่อส่งเสร็จก็จะ OFF - ในขณะเดียวกันก็จะตรวจสอบขา CTS ว่าอุปกรณ์ต้องการที่จะส่งข้อมูลหรือไม่

GND ขา ground

ระดับสัญญาณของ RS232


ระดับสัญญาณของ RS232C และระดับสํญญาณของ TTL

สัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้น ในสายนำสํญญาณ มักจะมีแรงดันเป็นบวก เมื่อเทียบกับกราวน์ - เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนนี้ จึงออกแบบแรงดัน ของโลจิก "1" เป็นลบ คืออยู่ในช่วง -3V ถึง -15V ส่วนแรงดัน ของโลจิก "0" อยู่ในช่วง +3V ถึง +15V - และเหตุที่ ระดับสัญญาณ ของ RS232 อยู่ในช่วง +15V ถึง -15V ก็เพื่อให้ต่อสายสัญญาณไปได้ไกลขึ้นดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีวงจรเปลี่ยนระดับแรงดันของ RS232 มาเป็นระดับแรงดันของ TTL

อัตราการส่งข้อมูล (Baud rate)

-คือความเร็วของการรับ -ส่งข้อมูล เป็นจำนวนบิทต่อวินาทีเช่น 300, 1,200, 2,400, 4,800 , 9,600 ,14,400 ,19,200, 38,400 ,56,000 เป็นต้น - การเลือกอัตราการส่งข้อมูลขึ้นอยู่กับ ชนิดของสายสัญญาณ, ระยะทาง,และปริมาณสัญญาณรบกวน

รูปแบบการสื่อสารแบบอนุกรมมีด้วยกันอยู่ 2 แบบ คือ

แบบซิงโครนัส (Synchronous) แบบอะซิงโครนัส(Asynchronous)

การสื่อสารแบบซิงโครนัส (Synchronous)
-การรับส่งข้อมูล จะมีสัญญาณนาฬิกา ซึ่งเป็นตัวกำหนด จังหวะเวลา การส่งข้อมูล ร่วมอยู่ด้วยอีกเส้นหนึ่ง ใช้คู่กับสัญญาณข้อมูล ตัวอย่างเช่น การส่งสัญญาณจากคีย์บอร์ด
การสื่อสารแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous) - การรับส่งข้อมูล โดยที่ไม่จำเป็นต้อง มีสัญญาณนาฬิกา ร่วมด้วย แต่จะใช้ให้ตัวส่ง และตัวรับ มีอัตราส่งข้อมูล ที่เท่ากัน

รูปแบบข้อมูลแบบอะซิงโครนัส ประกอบด้วย 4 ส่วนคือ

1บิตเริ่มต้น (Start bit) มีขนาด1 บิต 2บิตข้อมูล (Data) มีขนาด 5,6,7 หรือ 8 บิต 3บิตตรวจสอบพาริตี้ (Parity bit) มีขนาด 1 บิตหรือไม่มี 4บิตหยุด (Stop bit) มีขนาด 1, 1.5, 2 บิต


- เมื่อไม่มีการส่งข้อมูล ขา data จะมีสถานะเป็นโลจิก "1" หรือ สถานะหยุดรอ (Waiting stage) - เมื่อเริ่มต้นส่งข้อมูลจะให้ขา data เป็นโลจิก "0" เป็นจำนวน 1 บิต เรียกว่าบิตเริ่มต้น (Start bit) - จากนั้นก็จะเริ่มต้นส่งข้อมูล โดยส่งบิตต่ำไปก่อน (LSB) - แล้วตามด้วยพาริตี้บิต (จะมีหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการติดตั้งค่า ของทั้งสองฝ่าย) - สุดท้ายตามด้วยโลจิก "1" อย่างน้อย 1 บิต ( มีขนาด 1, 1.5, หรือ 2 บิต) เพื่อแสดงว่าสิ้นสุดข้อมูล

การรับและส่งข้อมูลแบบอนุกรมยังแบ่งออกเป็นลักษณะการใช้งานได้ 3 แบบคือ 1).แบบซิมเพลกซ์ (Simplex) เป็นการส่ง หรือรับข้อมูล แบบทิศทางเดียว เท่านั้น 2.).แบบฮาล์ฟดูเพลกซ์ (Half Duplex) เป็นการส่งและรับข้อมูลแบบสลับกัน คือเมื่อด้านหนึ่งส่ง อีกด้านหนึ่ง เป็นฝ่ายรับ สลับกัน ไม่สามารถรับ-ส่งในเวลาเดียวกันได้ 3).แบบฟลูดูเพลกซ์ (Full Duplex) สามารถรับ-ส่งข้อมูลในเวลาเดียวกันได้http://www.thaimicrotron.com/CCS-628/Referrence/RS232.htm


2.)UTP

สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) หรือสาย CAT (Category) เป็นสายเส้นเล็กจำนวน 8 เส้นตีเกลียวคู่ มีอยู่ 4 คู่ ไม่มีเส้นลวดถัก (shield) เพราะการตีเกลียวคู่เป็นการลดสัญญาณรบกวนอยู่แล้ว การใช้งานจะต้องมีการแค๊มหัว RJ-45 เข้ากับสาย UTP แล้วนำไปเสียบเข้ากับ Hub มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล 10/100Mbps ปัจจุบันนิยมใช้สาย CAT 5 กันมาก เพราะสนับสนุนการรับ-ส่งข้อมูลความเร็วตั้งแต่ 10-100 Mbpsและได้เกือบ 1000 Mbps คืออยู่ราวๆ 700 - 800 Mbps ตอนนี้ที่ใช้อยู่ คือวงแลนวงใหม่ที่ได้ทำให้กับ อาคารสถาบันดำรงราชานุภาพ

ที่มา :http://www.numsai.com/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2-UTP-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html


3.) Serial

พอร์ตอนุกรม (Serial Port) เป็นพอร์ตสำหรับต่อกับอุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต โดยส่วนใหญ่เราจะใช้สำหรับต่อกับเมาส์ในกรณีที่คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นไม่มีพอร์ต PS/2 หรือเป็นเคสแบบ AT นอกจากนั้นเรายังใช้สำหรับเป็นช่องทางการติดต่อโมเด็มด้วย ในคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องจะมีพอร์ตอนุกรมให้อยู่สองพอร์ต เรียกว่าพอร์ตคอม 1 และพอร์ตคอม 2 นอกจากนั้นอาจจะมีฮาร์ดแวร์บางตัว เช่น จอยสติ๊กรุ่นใหม่ ๆ มาใช้พอร์ตอนุกรมนี้เช่นกัน • พอร์ตอนุกรมจะมีหัวเข็ม 9 เข็ม หรือ 25 เข็ม (พอร์ตนี้จะเป็นตัวผู้ เพราะมีเข็มยื่นออกมา) • พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เม้าส์ โมเด็ม สแกนเนอร์ เป็นต้น • สามารถต่อความยาวได้ถึง 6 เมตร และราคาสายก็ไม่แพงนัก
ที่มา : http://www.zabzaa.com/tips/showtips.asp?GID=134


4.)Parallel

พอร์ตขนาน (Pararell Port) หน้าที่ของพอร์ตตัวนี้ก็คือใช้สำหรับติดต่อกับเครื่องพิมพ์เป็นหลัก ปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถใช้งานร่วมกับสแกนเนอร์ หรือว่าไดรฟ์ซีดีอาร์ดับบลิวได้ด้วย พอร์ตแบบนี้มีขนาดยาวกว่าพอร์ตอนุกรมทั่ว ๆ ไป โดยมีจำนวนพินเท่ากับ 25 พิน สังเกตได้ง่าย • พอร์ตขนานจะมีรู 25 รู (พอร์ตนี้จะเป็นตัวเมีย หมายถึงมีรูที่ตัวพอร์ต) • พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เทปไดร์ฟ สแกนเนอร์ เป็นต้น • สามารถต่อความยาวไม่มากนัก แถมมีราคาแพงกว่าสายของพอร์ตอนุกรมด้วย • การส่งสัญญาณจะส่งได้เร็วกว่าพอร์ตอนุกรม
ที่มา : http://www.zabzaa.com/tips/showtips.asp?GID=134


Parallel Port พอร์ตพาราเรล เป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู 25 รู สำหรับต่อสายพรินเตอร์ หรือสแกนเนอร์ที่มีพอร์ตแบบพาราเรล ซึ่งส่วนใหญ่ จะใช้ต่อกับเครื่องพรินเตอร์มากกว่า ซึ่งบางคนจะเรียกว่าพรินเตอร์พอร์ต โดยส่วนใหญ่พอร์ตพาราเรล จะมีกับเครื่อง พรินเตอร์รุ่นเก่า หรือในเครื่องพรินเตอร์ระดับกลางๆ ขึ้นไป








5.)Port/หมายเลข port

Port คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคลแบบ TCP/IP จะมีหมายเลขประจำเครื่องที่เรียกว่า IP Address และเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องต้องการรับ-ส่งข้อมูลบนระบบเครือข่ายผ่านโปรแกรมต่างๆก็จะต้องมีช่องทางในการรับ-ส่งข้อมูลซึ่งช่องทางเหล่านั้นจะถูกเรียกว่า Port โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องก็สามารถมีช่องทางสำหรับการรับ-ส่งข้อมูล (Port) ได้หลายช่องทาง (หลาย Port) โดยที่แต่ละช่องทางก็จะมีหมายเลขประจำของตัวเองซึ่งเรียกว่า Port No. โดยที่การรับ-ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์บนระบบเครือข่ายจึงมีชุดหมายเลขอยู่ 2 ชุด ซึ่งจะถูกใช้ในการกำหนดเส้นทางการเดินทางรับ-ส่งข้อมูล คือIP Address - หมายเลขประจำเครื่อง (รับ-ส่งข้อมูลมาจากและไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใด)Port No. - หมายเลขประจำพอร์ต (ผ่านทางช่องทางไหน)ทั้งนี้ IP Address และ Port No. จะมีลักษณะเป็นหมายเลขเฉพาะที่ไม่สามารถใช้ซ้ำกันได้
ที่มา : http://www.thaiipcamera.com/network/50-info/556-port.html



หมายเลข port คือเลขฐาน 16 บิต ตั้งแต่ 0 ถึง 65535 หมายเลข port แต่ละหมายเลขจะถูกกำหนดโดยเฉพาะจาก OS (Operating Systems)ทาง Internet Assigned Numbers Authority (IANA) เป็นหน่วยงานกลางในการประสานการเลือกใช้ Port ว่า Port หมายเลขใดควรเหมาะสำหรับ Service ใดเช่น เลือกใช้ TCP Port หมายเลข 23 กับ Service Telnet และเลือกใช้ UDP Port หมายเลข 69 สำหรับ Service Trivial File transfer Protocol (TFTP)
ที่มา : http://www.compspot.net/index.php?tion=com_content&task=view&id=328&Itemid=46


6.)LAN RJ45-UTP

lan RJ45-utpสิ่งจำเป็นสำหรับการเข้าหัวสาย Lan (สาย UTP / หัว RJ45) สายสัญญาณที่ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เพื่อให้เป็นระบบ Network ที่นิยมใช้กันมากที่สุด เห็นจะหนีไม่พ้นสาย UTP CAT 5e หรือ UTP CAT 6 (ปัจจุบันเริ่มมีการใช้ Lan แบบ ไร้สาย หรือ Wireless Lan กันมาขึ้น เพราะสะดวกและติดตั้งง่ายสวยงามอีกต่างหาก เนื่องจากไม่ต้องมีสายต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์หรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่าสาย Lan นั้นล่ะครับสาย UTP ว่า "การเข้าหัวสาย Lan" ในการเข้าหัวสาย Lan เราต้องใช้เครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นดังนี้หัว RJ45 Modulat Plug Boot อันนี้จะมีหรือไม่มีก็ได้ ถ้ามีก็ดีครับเพื่อป้องกันสายหักบริเวณปลายหัว RJ45 แลยังดูเรียบร้อยดีอีกด้วยคีมสำหรับตัดสายและย้ำหัว RJ45ตัวปลอกสาย UTP หากไม่มีใช้มีดคัดเตอร์แทนก็ได้เครื่องทดสอบสาย LAN จริงๆ มีหลายยี่ห้อมากสำหรับเครื่องที่ใช้ทดสอบสาย UTP แต่ในรูปเป็นของ Fluke คุณสมบัติของรุ่นนี้ก็เช่นสามารถเช็คความยาวสาย ได้ทั้งแบบเมตรและฟุต Ping,test ไปยัง IP ที่ต้องการได้,กำหนด IP ให้ตัวเองได้ทั้งแบบ Static และ DHCPสาย UTP (สาย Lan) ภายในสาย UTP เมื่อเราปลอกเปลือกที่หุ้มสายออกแล้วเราจะพบว่ามีสายเล็กๆ อยู่อีก 4 คู่ (8 เส้น) คือ· ขาวส้ม - ส้ม· ขาวเขียว - เขียว· ขาวน้ำเงิน - น้ำเงิน· ขาวน้ำตาล - น้ำตาล
ที่มา : http://www.wirelink.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=68:-lan-utp-rj45&catid=31:general&Itemid=53