วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
โครงการ E-learning ระบบฐานข้อมูล
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
CheckedListBox
การใช้งานคอนโทรล CheckedlistBox
คอนโทรล CheckedlistBox เป็นคอนโทรลที่ทำหน้าที่เป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้ เช่นเดียวกับคอนโทรล OptionButton และ CheckBox ต่างกันตรงที่รูปแบบ การนำเสนอให้กับผู้ใช้ ในการใช้งานแบบปกติวิธีการเรียกใช้ CheckedlistBox
1. ถ้าคุณต้องการใช้งานคอนโทรล CheckedlistBox ให้คลิ๊กเลือก CheckedlistBox บน Tool Box มีลักษณะดังรูป
2. เปลี่ยนคุณสมบัติต่างๆ ดังที่ต้องการ
Text
คุรณสมบัตินี้มีหน้าที่สำหรับคืนค่า หรือกำหนดข้อความให้กับคอนโทรล ListBox ซึ่งข้อความที่คุณสมบัตินี้เก็บอยู่ หมายถึง รายการที่ผู้ใช้เลือกนั่นเอง
Fontคุณสมบัตินี้มีหน้าที่สำหรับกำหนดรูปแบบของฟอนต์ ลักษณะของฟอนต์ และขนาดของฟอนต์ มีรูปแบบการใช้งานดังนี้
List1.Font.Name [=fontname]
List1.Font.Size [=points]
List1.Font.Bold [=boolean]
List1.Font.Italic [=boolean]
List1.Font.Strikethru [=boolean]
List1.Font.Underline [=boolean]
BackColor และ ForeColor
คุณสมบัติ BackColor มีหน้าที่สำหรับ กำหนดสีพื้นหลัง (Background) ของตัวคอนโทรล และ คุณสมบัติ ForeColor มีหน้าที่สำหรับ กำหนดสีของข้อความ ที่ปรากฎอยู่ในคอนโทรล ListBox มีรูปแบบการใช้งานดังนี้
List1.BackColor [= color]
List1.ForeColor [= color]
SelLength, SelStart และ SelText
คุณสมบัติ SelLength มีหน้าที่สำหรับคืนค่า หรือกำหนดจำนวนตัวอักษรที่คุณต้องการเลือก คุณสมบัติ SelStart มีหน้าที่สำหรับคืนค่า หรือกำหนดตัวอักษรที่เป็นตัวแรก ที่คุณต้องการเลือก ส่วนคุณสมบัติ SelText มีหน้าที่สำหรับรายงานข้อความที่ได้ถูกเลือกเอาไว้ โดยที่คุณจะต้องกำหนดให้คุณสมบัติ Style=0 หรือ 1 เท่านั้น คุณสมบัติทั้ง 3 ตัวมีรูปแบบการใช้งานดังนี้
Combo1.SelLength [= number]
Combo1.SelStart [= index]
Combo1.SelText [= value]
MousePointer
คุณสมบัตินี้มีหน้าที่สำหรับ กำหนดรูปแบบของเมาส์ มีรูปแบบการใช้งานดังนี้
Combo1.MousePointer [= value]
TopIndex
คุณสมบัตินี้มีหน้าที่สำหรับคืนค่า หรือกำหนดให้ รายการที่อยู่ในคอนโทรล ComboBox ที่มีค่า Index เท่ากับคุณสมบัตินี้ แสดงเป็นรายการแถวบนสุด ในขณะรัน ไม่ใช่การสลับตำแหน่งกัน ลำดับต่างๆ ที่ปรากฎอยู่ในคอนโทรลยังคงเดิม เพียงแต่เป็นการกำหนดคอนโทรล ComboBox แสดงรายการอื่นๆ ที่ไม่ใช่รายการแรก ปรากฎขึ้นมาในตัวคอนโทรล มีรูปแบบการใช้งานดังนี้
Combo1.TopIndex [= value]
Visible
คุณสมบัตินี้มีหน้าที่สำหรับคืนค่า หรือกำหนดให้คอนโทรล ComboBox สามารถมองเห็นได้หรือไม่ มีประโยชน์ในกรณีที่ ในบางครั้งคุณต้องการซ่อนตัวคอนโทรลไม่ให้ผู้ใช้เห็น แต่ตัวคอนโทรลยังคงอยู่ในหน่วยความจำ มีรูปแบบการใช้งานดังนี้
Combo1.Visible [=boolean]
Move
เมธอดนี้มีหน้าที่สำหรับกำหนดให้คอนโทรล ComboBox เคลื่อนย้ายตำแหน่ง หรือปรับขนาดของคอนโทรล โดยหน่วยวัดที่ใช้ จะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ ScaleMode ปกติแล้วจะมีหน่วยเป็น Twip มีรูปแบบการใช้งานดังนี้
Combo1.Move left[,top,width,height]
SetFocus
เมธอดนี้มีหน้าที่สำหรับกำหนดให้คอนโทรลที่ใช้คุณสมบัตินี้ได้รับโฟกัส (focus) หรือได้รับความสนใจทันที อาจกล่าวได้ว่า เป็นการบังคับให้คอนโทรล ได้รับความสนใจนั่นเอง มีผลให้อ๊อบเจ็กต์ หรือคอนโทรลอื่นๆ สูญเสียโฟกัสทันที มักใช้ในกรณีที่ คุณต้องการบังคับให้เกิดการกระทำ หรือประมวลผลต่อคอนโทรลที่คุณต้องการทันที มีรูปแบบการใช้งานดังนี้
Combo1.SetFocus
Enabled
คุณสมบัตินี้มีหน้าที่คืนค่า หรือกำหนดให้คอนโทรล ScrollBar สามารถตอบรับ หรือตอบสนองเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดจากผู้ใช้ หรือเกิดจากการประมวลผลได้หรือไม่ มีรูปแบบการใช้งานดังนี้
vsb1.Enabled [=boolean]
Properties
(Name) = Form1
Text = Form1
ForeColor = Controltext
Font = Font , FontStyle: , Size:
Backcolor = Control
SizeGripstyle = Auto
AutoScaleMode = None
AutoScroll = False
Cursor = Default
FormBorderStyte = Sizable
ตัวอย่างการใช้งาน
using System;
using System.Collections.Generic;
using System.ComponentModel;
using System.Data;
using System.Drawing;
using System.Linq;
using System.Text;
using System.Windows.Forms;
namespace WindowsFormsApplication3
{
public partial class Form1 : Form
{
public Form1()
{
InitializeComponent();
}
private void button1_Click(object sender, EventArgs e)
{
}
private void checkedListBox1_SelectedIndexChanged(object sender, EventArgs e)
{
label1.Text = checkedListBox1.SelectedItem.ToString();
}
}
}
การเขียนโปรแกรม C# GUI
{
public partial class Form1 : Form
{
public Form1()
... {
InitializeComponent();
}
private void radioButton1_CheckedChanged(object sender, EventArgs e)
{
}
private void radioButton1_Click(object sender, EventArgs e)
{
MessageBox.Show("คุณเลือกเพศชาย");
}
private void radioButton2_Click(object sender, EventArgs e)
{
MessageBox.Show("คุณเลือกเพศหญิง");
}
private void Form1_Load(object sender, EventArgs e)
{
radioButton1.Checked = false;
radioButton2.Checked = false;
}
private void checkBox1_CheckedChanged(object sender, EventArgs e)
{
}
private void checkBox2_CheckedChanged(object sender, EventArgs e)
{
showColor();
//panel1.BackColor = Color.Green;
}
private void checkBox3_CheckedChanged(object sender, EventArgs e)
{
showColor();
//panel1.BackColor = Color.Blue;
}
private void checkBox1_Click(object sender, EventArgs e)
{
showColor();
//panel1.BackColor = Color.Red;
}
private void checkBox2_Click(object sender, EventArgs e)
{
showColor();
//panel1.BackColor = Color.Green;
}
private void checkBox3_Click(object sender, EventArgs e)
{
showColor();
//panel1.BackColor = Color.Blue;
}
private void showColor()
{
if((checkBox1.Checked) && (checkBox2.Checked) && (checkBox3.Checked))
{
panel1.BackColor = Color.White;
}
else if ((checkBox1.Checked) && (checkBox2.Checked))
{
panel1.BackColor = Color.Yellow;
}
else if((checkBox1.Checked) && (checkBox3.Checked))
{
panel1.BackColor = Color.Magenta;
}
else if((checkBox2.Checked) && (checkBox3.Checked))
{
panel1.BackColor = Color.Cyan;
}
else if(checkBox1.Checked)
{
panel1.BackColor = Color.Green;
}
else if(checkBox2.Checked)
{
panel1.BackColor = Color.Blue;
}
else if(checkBox3.Checked)
{
panel1.BackColor = Color.Red;
}
}
}
}ดูเพิ่มเติม
วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554
มงคลชีวิต ๓๘ ประการ
๑. การไม่คบคนพาล
๒. การคบบัญฑิต
๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา
๔. การอยู่ในถิ่นอันสมควร
๕. เคยทำบุญมาก่อน
๖. การตั้งตนชอบ
๗. ความเป็นพหูสูต
๘. การรอบรู้ในศิลปะ
๙. มีวินัยที่ดี
๑๐.กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต
๑๑.การบำรุงบิดามารดา
๑๒.การสงเคราะห์บุตร
๑๓.การสงเคราะห์ภรรยา
๑๔.ทำงานไม่ให้คั่งค้าง
๑๕.การให้ทาน
๑๖.การประพฤติธรรม
๑๗.การสงเคราะห์ญาติ
๑๘.ทำงานที่ไม่มีโทษ
๑๙.ละเว้นจากบาป
๒๐.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
๒๑.ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
๒๒.มีความเคารพ
๒๓.มีความถ่อมตน
๒๔.มีความสันโดษ
๒๕.มีความกตัญญู
๒๖.การฟังธรรมตามกาล
๒๗.มีความอดทน
๒๘.เป็นผู้ว่าง่าย
๒๙.การได้เห็นสมณะ
๓๐.การสนทนาธรรมตามกาล
๓๑.การบำเพ็ญตบะ
๓๒.การประพฤติพรหมจรรย์
๓๓.การเห็นอริยสัจ
๓๔.การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
๓๕.มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
๓๖.มีจิตไม่เศร้าโศก
๓๗.มีจิตปราศจากกิเลส
๓๘.มีจิตเกษม
http://mcucity.tripod.com/38virtues.htm#๓.
พหูสูต
ลักษณะของพหูสูต คือ
๑. รู้ลึก หมายถึง รู้เรื่องราวไปหาเหตุในอดีต ลึกซึ้งถึงความเป็นมา เช่น แพทย์เมื่อเห็นอาการก็สามารถรู้ว่าเป็นโรคอะไรรู้ไปถึว่าที่เป็นโรคนี้เพราะเหตุใด หรือช่างเมื่องเห็นอาการเครื่องยนต์ที่เสียก็สามารถบอกได้ทันทีว่าเครื่องนั้นเสียที่ไหน เป็นเพราะอะไร เป็นต้น
๒. รู้รอบ หมายถึง ช่างสังเกต รู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว สภาพภูมิประเทศดินฟ้าอากาศ ผู้คนในชุมชน ความเป็นไปของเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบตัว สภาพภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศ ผู้คนในชุมชน ความเป็นไปของเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบตัว สิ่งที่ควรรู้ต้องรู้
๓. รู้กว้าง หมายถึง สิ่งรอบตัว แต่ละอย่างที่รู้ก็รู้อย่างละเอียดรู้ถึงความเกี่ยวพันของสิ่งนั้นกบสิ่งอื่น ๆ ด้วย คล้ายรู้รอบแต่เก็บรายละเอียดมากขึ้น
๔. รู้ไกล หมายถึง มองการณ์ไกล รู้ถึงผลที่จะตามมาในอนาคต เช่น เห็นสภาพดินฟ้าอากาศก็รู้ทันทีว่าปีนี้พืชผลชนิดใดจะขาดแคลน เห็นพฤติการณ์ ของผู้ร่วมงานไม่น่าไว้วางใจก็รู้ทันทีว่า เขากำลังจะคิดไม่ซื่อ เห็นตนเองเริ่มย่อหย่อนต่อการปฏิบัติธรรมก็รู้ทันทีว่าถ้าทิ้งไว้เช่นนี้ต่อไปตนก็จะเสื่อมจากกุศลธรรม ฯลฯ
ผู้ที่ประกอบด้วยความรู้ ๔ ประการนี้ ทั้งทางโลกและทางธรรมจึงจะเป็นพหูสูตที่แท้จริง
ลักษณะผู้ที่เป็นพหูสูตไม่ได้
๑.คนราคจริต คือ คนขี้โอ่ บ้ายอ เจ้าแง่แสนงอน รักสวยรักงาม พิถีพิถันจนเกินเหตุ มัวแต่งอน มัวแต่แต่งตัวจนไม่มีเวลาท่องบ่น ค้นคว้าหาความรู้ พวกนี้แก้โดยให้หมั่นนึกถึงความตาย พิจารณาซากศพอสุภะเนือง ๆ
๒.คนโทสจริต คือ คนขี้โมโห ฉุนเฉียว โกรธง่าย ผูกพยาบาทมากมัวแต่คิดโกรธแค้นจนไม่มีเวลาไตร่ตอง พวกนี้แต้โดยให้หมั่นรักษาศีลและแผ่เมตตาเป็นประจำ
๓.คนโมหจริต คือ คนสะเพร่า ขี้ลืม มักง่าย ทำอะไรไม่พยายามเอาดีสักแต่ให้เสร็จ สติไม่มั่นคง ใจกระด้างในการกุศล สงสัยในพระรัตนตรัยว่ามีคุณจริงหรือไม่ พวกนี้แก้โดยให้หมั่นฝึกสมาธิอย่างสม่ำเสมอ
๔.คนขี้ขลาด คือ พวกขาดความเชื้อมั่นในตนเอง ไม่กล้าลงมือทำอะไร กลัวถูกติ คอยแต่จะเป็นผู้ตาม ไม่มีความคิดริเริ่ม พวกนี้แก้โดยให้คบกับคนมาตรฐาน คือ คบบัณฑิต จะอ่าน จะทำอะไรก็ให้จับให้ทำแต่สิ่งที่เป็นมาตรฐานไม่สักแต่ว่าทำ
๕.คนหนักในอามิส คือ พวกบ้าสมบัติ ตีค่าทรัพย์ว่ามากกว่าความรู้ทำให้ไม่ขวนขวายในการแสวงหาปัญญาเท่าที่ควร
๖.คนจับจด คือ พวกทำอะไรเหยาะแหยะไม่เอาจริง
๗.นักเลงสุรา คือพวกขี้เมา ขาดสติ หมดหนทางที่จะเรียนรู้
๘.คนที่มีนิสัยเหมือนเด็ก คือ พวกชอบเอิกเกริกสนุกเฮฮาจนเกินเหตุ ไม่มีความรับผิดชอบ
วิธีฝึกตนเองให้เป็นพหูสูต
๑. ฉลาดเลือกเรียนแต่สิ่งที่ควร
๒. ตั้งใจเรียนวิชาที่ตนเลือกอย่างเต็มความสามารถ
๓. มีความกระตือรือร้นที่จะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
๔. เมื่อเรียนแล้วก็จำไว้เป็นอย่างดี พร้อมจะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้ทันที
http://www1.freehostingguru.com/thaigenx/mongkhol/mk07.htm
ตัวอย่างการเป็นทุกข์และไม่เป็นทุกข์
ทุกข์คือ เป็นคนที่แพ้ (การแข่งขันกีฬา)
อยากได้ลาภ?
ทุกข์คือ เสียตังค์ หมดทรัพย์
อยยากได้เกรด4?
ทุกข์คือ ไม่ได้เกรด 4ได้เกรด 1,2,3, ติด 0
นิทานชาดก เรื่อง...ลิงเจ้าปัญญา
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ทรงปรารภพระเทวทัต ผู้พยายามปลงพระชนม์พระองค์ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า…
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาลิงมีรูปร่างใหญ่โตสวยงาม มีพละกำลังเท่าช้าง อาศัยอยู่ที่ราวป่า คุ้งแม่น้ำแห่งหนึ่ง ในแม่น้ำนั้นมีจระเข้สองผัวเมียอาศัยอยู่ วันหนึ่ง จระเข้ตัวเมียเห็นร่างกายของพญาลิงแล้วเกิดแพ้ท้องอยากกินหัวใจลิงตัวนั้น
“พี่ช่วยนำมันมาให้น้องหน่อยนะจ๊ะ”
สามีพูดว่า “น้องจ๋าเราเป็นสัตว์ในน้ำ ลิงเป็นสัตว์บนบก พี่จะจับลิงได้อย่างไรละจ๊ะ”
เมียพูดด้วยความน้อยในว่า “พี่ต้องหาวิธีจับมันมาให้ได้ มิเช่นนั้นน้องขอตายดีกว่า”
สามีจึงพูดปลอบใจว่า “น้องจ๋า อย่างเพิ่งตายเลยจ๊ะ พี่จะไปจับมันมาเดี๋ยวนี้ละจ๊ะ”
ว่าแล้วก็ไปหาพญาลิงที่กำลังลงมาดื่มน้ำที่ฝั่งพอดี ร้องถามขึ้นว่า “ท่านลิง ท่านกินแต่กล้วยที่ฝั่งนี้ไม่เบื่อรึไง ไม่คิดอยากจะข้ามไปกินผลไม้ฝั่งโน้นบ้างหรือ”
ลิงตอบว่า “ท่านจระเข้ แม่น้ำนี้กว้างใหญ่ไพศาล เราจะข้ามไปได้อย่างไร”
จระเข้ ได้ทีจึงเสนอตัวว่า “ถ้าท่านจะไปจริง ๆ ก็ขึ้นบนหลังของเราไปก็ได้ เราอาสาจะไปส่ง”
ลิงเชื่อคำพูดของมันจึงได้กระโดดขึ้นบนหลังจระเข้ไป
จระเข้พอพาลิงไปถึงกลางแม่น้ำก็มุดลงดำน้ำ ลิงร้องถามว่า “ท่านแกล้งเรา จะให้เราจมน้ำตายรึไง”
จระเข้ตอบว่า “เรามิได้คิดอาสาจะพาท่านไปฝั่งโน้นจริง ๆ หรอก เมียเราแพ้ท้องอยากกินหัวใจท่าน เราจะพาท่านไปให้เมียเรากินต่างหาก”
ลิงพูดขึ้นด้วยเล่ห์ว่า “เพื่อนเอ๋ย ท่านบอกมาก็ดีแล้ว หากหัวใจอยู่ในท้องเราเมื่อกระโดดไปมาบนต้นไม้ หัวใจเราก็แหลกหมดนะสิ หัวใจไม่ได้อยู่กับเรา”
จระเข้หลงกลถามไปว่า “แล้วท่านเอาหัวใจไปไว้ที่ไหนละ”
ลิงจึงชี้ไปที่ต้นมะเดื่อต้นหนึ่งที่ไม่ไกลนักมีผลสุกเป็นพวงอยู่ พร้อมกับพูดว่า “นั่นไง หัวใจของเราแขวนอยู่ที่ต้นมะเดื่อนั่นไง”
จระเข้พูดว่า “หากท่านให้หัวใจแก่เรา เราจะไม่ฆ่าท่าน”
ลิงพูดว่า “ถ้าเช่นนั้นท่านพาเราไปที่นั้นสิ เราจะให้หัวใจแก่ท่าน”
จระเข้จึงพาลิงไปส่งที่ต้นมะเดื่อนั้น ลิงกระโดดขึ้นต้นมะเดื่อไปแล้ว พร้อมกับพูดว่า
“เจ้าจระเข้หน้าโง่ หัวใจสัตว์ตัวไหนจะอยู่บนยอดไม้ เจ้าใหญ่แต่ตัวเสียเปล่า หามีปัญญาไม่” แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า
“เราไม่ต้องการด้วยผลมะม่วง ผลหว้า และผลขนุนที่ท่านเห็นฝั่งสมุทรโน้น ผลมะเดื่อของเราต้นนี้ดีกว่าร่างกายของท่านใหญ่โตเสียเปล่าแต่ปัญญาไม่สมกับ ร่างกายเลย จระเข้..ถูกเราลวงแล้วนัดนี้เจ้าจงไปตามสบายเถิด”
จระเข้พอทราบว่าหลงกลลิงแล้วก็เป็นทุกข์เสียใจซึมเซาเหมือนกับเสียพนัน มุดกลับยังถิ่นที่อยู่ของตนตามเดิม
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
คนโง่ย่อมเป็นเหยื่อของคนฉลาด รู้จักใช้ปัญญาเอาชีวิตรอดมาได้เป็นยอดดี
http://นิทานชาดก.whitemedia.org/
วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554
โลกธรรม 8
ด้วยกันทั้งนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ข้อแตกต่างคือ ใครประสบมาก ประสบน้อย
ช้าหรือเร็ว โลกธรรมแบ่งออกเป็น 8 ชนิด จำแนกออกเป็น 2 ฝ่ายควบคู่กันและมีความหมายตรงข้ามกัน คือ
1. โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์พอใจมี 4 เรื่อง คือ
- ได้ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้ทรัพย์สินเงินทอง ได้บ้านเรือนหรือที่สวน ไร่นา
- ได้ยศ หมายความว่า ได้รับแต่งตั้งให้มีฐานันดรสูงขึ้น ได้ตำแหน่ง ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต
- ได้รับสรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกยอ
- ได้สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ได้ความเบิกบาน ร่าเริง ได้ความบันเทิงใจ
2. โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์ไม่พอใจมี 4 เรื่อง คือ
- เสียลาภ หมายความว่า ลาภที่ได้มาแล้วเสียไป
- เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดความเป็นใหญ่ ถูกถอดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดอำนาจ
- ถูกนินทา หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี มีใครพูดถึง ความไม่ดีของเราในที่ลับหลังเรียกว่าถูกนินทา
- ตกทุกข์ คือ ได้รับความทุกข์ทรมานกายทรมานใจ
http://www.learntripitaka.com/scruple/rokatham8.html
สังคหวัตถุ 4
1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้
2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
เว้นจากการพูดเท็จ
เว้นจากการพูดส่อเสียด
เว้นจากการพูดคำหยาบ
เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย
http://www.learntripitaka.com/scruple/sank4.html
อิทธิบาท 4
๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น
ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน
ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ
วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง
จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่
วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่
http://www.learntripitaka.com/scruple/Itibaht4.html
การประกอบอาชีพผู้ดูแลระบบปฏิบัติการตามกุศลกรรมบถ10
มาประยุกต์ใช้กับ = ไม่มี
2. งดเว้นจากการลักขโมยสิ่งของ ๆ คนและสัตว์ และไม่ใช้ให้ผู้อื่นลักขโมย ไม่หลอกลวงให้ผู้อื่นต้องเสียทรัพย์และชื่อเสียงหมั่น บำเพ็ญทาน และสละทรัพย์ และสิ่งของให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น และสาธารณประโยชน์เสมอ ๆ เพื่อทำให้จิตใจบรรเทาเบาบางลงจากความตระหนี่ และความโลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน
มาประยุกต์ใช้กับ = ไม่ลักขโมยผลงานของผู้อื่มมาเป็นของตน และมีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนร่วมงาน
3. งดเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คือ ไม่ข่มขืน ทำลามกอนาจาร ล่วงละเมิดสิทธิสตรีและบุรุษอื่น เรียกว่าไม่ทำชู้ในสามีและภรรยาของผู้อื่น พยายามถือสันโดษ ยินดีเฉพาะในภรรยาหรือสามีของตนเท่านั้น ไม่รักหญิงอื่นยิ่งกว่าภรรยาของตน
มาประยุกต์ใช้กับ = ไม่มี
4. งดเว้นจากการพูดเท็จ คือ ไม่พูดโกหกหลอกลวงให้ผู้อื่นเข้าใจผิดตามที่ตนพูด เช่น สิ่งใดที่เรารู้เราเห็น เมื่อเขาถาม เรากลับตอบว่าเราไม่รู้เราไม่เห็น และสิ่งใดที่เราไม่รู้ไม่เห็น แต่กลับตอบว่าเรารู้เราเห็น เป็นต้นเช่นนี้พยายาม พูดแต่คำที่สัตย์จริง หากคำใดเราเห็นว่าพูดออกไปแล้วแม้เป็นความจริง แต่จะทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เราก็งดเสียไม่พูดเลย เพราะถ้าไม่พูดคำจริงเราก็พูดเท็จ อันเป็นการทำให้เราเสียกุศลกรรมบถอันนี้
มาประยุกต์ใช้กับ = ไม่มี
5. งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ได้แก่การฟังข้างนี้ แล้วเอาไปบอกข้างโน้น เพื่อจะทำลายข้างนี้ หรือได้ฟังข้างโน้นแล้วเอามาบอกข้างนี้ เพื่อจะทำลายข้างโน้น คือ มุ่งหมายยุยงให้เขาแตกจากกัน ทำลายความพร้อมเพรียงกันส่งเสริมผู้ที่แตกกันแล้วให้แตกมากยิ่งขึ้น ยินดีเพลิดเพลินในความเป็นพรรคเป็นพวก เข้าข้างพวกโน้นบ้างพวกนี้บ้าง ทำพรรคต่อพรรคให้แตกจากกัน ตั้งใจพูดแต่คำที่จะสมานไมตรีเชื่อมโยงให้คนโน้นคนนี้มีความรักใคร่ นับถือกัน พูดให้พรรคต่อพรรคปรองดองกลมเกลียวสามัคคีกัน ถ้าเห็นว่าจะช่วยให้เขาสามัคคีกันไม่ได้ก็งดเสีย
มาประยุกต์ใช้กับ = ไม่พูดส่อเสียดให้ร้ายเพื่อนร่วมงาน ให้เดือดร้อน
6. งดเว้นจากการพูดวาจาหยาบคายที่เผ็ดร้อน ที่เป็นปม เป็นที่ขัดข้องของผู้อื่น เป็นที่ระคายหูของผู้ที่ได้ยินได้ฟัง ยิ่งเป็นคำด่าคำแช่ง แม้แต่กับสัตว์ดิรัจฉานก็ไม่ควรพูดเลย เพราะเป็นการส่อสันดานของตนเองว่าเป็นคนเลว
พยายามพูดแต่คำที่อ่อนหวาน เรียบร้อย นุ่มนวล ละมุนละไม เป็นที่พอใจชุ่มชื่นเบิกบานใจของผู้ที่ได้ยินได้ฟัง
มาประยุกต์ใช้กับ = ไม่มี
7. งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ได้แก่ งดการพูดในเวลาที่ไม่ควรพูด ในสถานที่ที่เขาไม่ต้องการให้เราพูด การพูดมากไปกว่าความจริง พูดไม่มีเหตุผล พูดวาจาไม่มีหลักฐาน ไม่พูดตามธรรมวินัย พูดไม่รู้จักหยุด แม้ไม่มีใครอยากฟังแล้วก็ยังพูดเรื่อยเปื่อยไปโดยไม่มีประโยชน์
มาประยุกต์ใช้กับ = พูดในทางที่ดีในที่ทำงาน ไม่พูดเพ้อเจ้อในสถานที่ที่ทำงาน
8. ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน ได้แก่ เมื่อเห็นพัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้สอย ทั้งที่มีวิญญาณ และไม่มีวิญญาณของผู้อื่นแล้ว แม้ตนจะชอบพอใจก็ไม่พยายามเพ่งว่า ขอให้สมบัติของผู้นั้นจงมาเป็นของเรา หรือครุ่นคิดแต่ในใจว่า ทำไฉนเราจึงจะได้ทรัพย์สมบัติของผู้นั้นหนอดังนี้
มาประยุกต์ใช้กับ = ไม่โภลเอา ผลงานและความคิดของของคนอื่มมาอ้างว่าเป็นผลงานของตัวเอง
9. ไม่พยาบาทปองร้ายเขา คือ ไม่คิดอยากให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่จองเวรต่อสัตว์และคนอื่น ไม่ตั้งใจที่จะให้ใคร ๆ เป็นผู้ฉิบหาย หรือวิบัติด้วยประการใด
มาประยุกต์ใช้กับ = ไม่มี
10. เห็นชอบตามทำนองคลองธรรม ได้แก่ เห็นว่าบุญมีจริงบาปมีจริง ผลของบุญมี ผลของบาปมี คนทำดีย่อมได้ดี คนทำชั่วย่อมได้ชั่ว นรกมี สวรรค์มี และนิพพานก็มี โลกนี้โลกอื่นมี ชาตินี้ชาติหน้ามี
มาประยุกต์ใช้กับ = ไม่มี
วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554
อกุศลกรรม10ประการ
1. ปาณาติบาต ทำให้สัตว์ให้ตกล่าง คือ ฆ่าสัตว์
2. อทินนาทาน ถือ เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วย อาการแห่งขโมย
3. กาเมสุ มิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
4. มุสาวาท พูดเท็จ
5. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
6. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
7. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ
8. อภิชญา โลภอยากได้ของเขา
9. พยาบาท ปองร้ายเขา
10. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม
ผล ของอกุศลกรรมบถในแต่ละข้อ
- ผลของการทำร้ายสิ่งมีชีวิต ฆ่าสัตว์ จะเป็นคนรูปร่างไม่งาม มีโรคมาก สุขภาพไม่ดี กำลังกายอ่อนแอ เฉื่อยชา กลัวอะไรง่าย หวาดระแวง มีอุบัติเหตุบ่อย ตายก่อนวัยอันควร อายุสั้น
- ผลของการขโมย ลักทรัพย์ ฉ้อโกง จะเกิดมาฐานะไม่ดี อดอยาก หวังอะไรไม่สมหวัง ทำธุรกิจไม่ประสบผลสำเร็จ ทรัพย์สินเสียหายพังพินาศ สิ่งของในครอบครองชำรุดเสียหาย
- ผลของการประพฤติผิดในกาม มีความต้องการทางเพศไม่ปกติ จะทำให้มีผู้เกลียดชัง เห็นหน้าแล้วก็ไม่ถูกชะตา เสียทรัพย์ไปเพราะกาม ถูกประจานได้รับความอับอายบ่อย ร่างกายไม่สมประกอบ วิตก ระแวงเกินปกติ พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก คนที่รักไม่ได้ ได้คนที่ไม่รัก พบแต่คนที่มีเจ้าของแล้วมาชอบ คู่มีตำหนิเช่นเจ้าชู้,หม้ายหรืออายุมาก
- ผลของการโกหก หลอกลวง มีจิตบิดเบี้ยวเข้าใจอะไรผิดง่ายๆ จะเป็นคนพูดไม่ชัด ฟันไม่เป็นระเบียบ ปากเหม็นแม้จะดูแลแล้ว ไอตัวร้อนจัด ตาไม่อยู่ในระดับปกติ ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย แม้จะฉลาดเพียงไหนก็จะพบเหตุที่ต้องเสียรู้คนอื่น
- ผลของการพูดส่อเสียด ดูถูก จะเป็นคนชอบตำหนิตนเอง จะถูกลือโดยไม่มีความจริง แตกจากมิตรสหาย จะเกิดในตระกูลต่ำ
- ผลของการ พูดหยาบ จะเป็นคนอยู่ในสถานที่ได้ยินเสียงที่น่ารบกวนไม่สงบ ทั้งบ้านและที่ทำงาน มักหงุดหงิดรำคาญในเสียงต่างๆได้ง่าย มีผิวกายหยาบ น้ำเสียงหยาบ แก้วเสียงไม่ดี เสียงเป็นที่ระคายโสตประสาทของผู้อื่น
- ผลของการพูดเพ้อเจ้อ นินทา จะเป็นคนไม่มีเครดิต ไม่มีใครเกรงใจ เวลาพูดไม่มีใครสนใจฟัง เป็นคนไม่มีอำนาจ มีจิตฟุ้งซ่าน จิตหดหู่ สับสน
- ผลของการเพ่งเล็งอยากได้ของที่ไม่ใช่ของตน จะเป็นผู้รักษาทรัพย์สมบัติ รักษาคุณงามความดีไม่ได้ เกิดในครอบครัวอาชีพที่ต่ำต้อย ต้องได้รับคำติเตียนบ่นด่าว่าบ่อย หวังสิ่งใดไม่สมหวัง เสี่ยงโชคยังไงก็ไม่ได้
- ผลของการคิดร้ายผู้อื่น ผูกพยาบาท จะเป็นคนมีโรคมาก ผิวพรรณและรูปร่างดวงตาไม่สวย มีโรคทรมาน ตายทรมาน โดนทำร้ายตาย
- ผลของ เห็นผิดจากความจริง เห็นกงจักรเป็นดอกบัว จะเกิดในถิ่นห่างไกลความเจริญ คนป่าคนดอย ด้อยการศึกษา ไม่มีโอกาสได้ยินได้ฟังธรรมะที่ทำให้ใจสงบให้ใจปล่อยวาง ชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายเหมือนเกิดมาว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้
ส่วนบาปที่อยู่บอกเหนือ อกุศลกรรมบถ ก็จะมีเรื่องของศีลข้อที่ห้า คือการดื่มสุราเสพยาเสพติด
- ผลของการชอบดื่มสุราจนเมามาย เสพยาเสพติดกดประสาท กระตุ้นประสาท หลอนประสาท จะทำให้เป็นคนโดนหลอกง่าย ต้องอยู่ร่วมทำงานกับคนพาลชวนทะเลาะ รักษาทรัพย์รักษาชื่อเสียงไว้ไม่ได้ เรียงลำดับการพูดไม่รู้เรื่อง สติปัญญาและสมองไม่แจ่มใส
http://www.larnbuddhism.com/webboard/showthread.php?t=1074
http://www.oknation.net/blog/zaiseefa/2010/03/11/entry-2
นางสาวสุพัตรา ถนอมพลกรัง เลขที่ 24 พณ. 3/12
กุศลกรรม10 ประการ
2. งดเว้นจากการลักขโมยสิ่งของ ๆ คนและสัตว์ และไม่ใช้ให้ผู้อื่นลักขโมย ไม่หลอกลวงให้ผู้อื่นต้องเสียทรัพย์และชื่อเสียง
หมั่นบำเพ็ญทาน และสละทรัพย์ และสิ่งของให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น และสาธารณประโยชน์เสมอ ๆ เพื่อทำให้จิตใจบรรเทาเบาบางลงจากความตระหนี่ และความโลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน
3. งดเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คือ ไม่ข่มขืน ทำลามกอนาจาร ล่วงละเมิดสิทธิสตรีและบุรุษอื่น เรียกว่าไม่ทำชู้ในสามีและภรรยาของผู้อื่น พยายามถือสันโดษ ยินดีเฉพาะในภรรยาหรือสามีของตนเท่านั้น ไม่รักหญิงอื่นยิ่งกว่าภรรยาของตน
แม้สิ่งของใด ๆ ของใคร ๆ ก็ไม่ถือโอกาสเอาไปใช้ หรือแตะต้องก่อนได้รับอนุญาติจากเจ้าของ โดยถือหลักว่า “เมื่อไม่มีสิ่งที่ตัวชอบ จงชอบสิ่งที่ตัวมี”
4. งดเว้นจากการพูดเท็จ คือ ไม่พูดโกหกหลอกลวงให้ผู้อื่นเข้าใจผิดตามที่ตนพูด เช่น สิ่งใดที่เรารู้เราเห็น เมื่อเขาถาม เรากลับตอบว่าเราไม่รู้เราไม่เห็น และสิ่งใดที่เราไม่รู้ไม่เห็น แต่กลับตอบว่าเรารู้เราเห็น เป็นต้นเช่นนี้
พยายามพูดแต่คำที่สัตย์จริง หากคำใดเราเห็นว่าพูดออกไปแล้วแม้เป็นความจริง แต่จะทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เราก็งดเสียไม่พูดเลย เพราะถ้าไม่พูดคำจริงเราก็พูดเท็จ อันเป็นการทำให้เราเสียกุศลกรรมบถอันนี้
5. งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ได้แก่การฟังข้างนี้ แล้วเอาไปบอกข้างโน้น เพื่อจะทำลายข้างนี้ หรือได้ฟังข้างโน้นแล้วเอามาบอกข้างนี้ เพื่อจะทำลายข้างโน้น คือ มุ่งหมายยุยงให้เขาแตกจากกัน ทำลายความพร้อมเพรียงกัน
ส่งเสริมผู้ที่แตกกันแล้วให้แตกมากยิ่งขึ้น ยินดีเพลิดเพลินในความเป็นพรรคเป็นพวก เข้าข้างพวกโน้นบ้างพวกนี้บ้าง ทำพรรคต่อพรรคให้แตกจากกัน ตั้งใจพูดแต่คำที่จะสมานไมตรีเชื่อมโยงให้คนโน้นคนนี้มีความรักใคร่ นับถือกัน พูดให้พรรคต่อพรรคปรองดองกลมเกลียวสามัคคีกัน ถ้าเห็นว่าจะช่วยให้เขาสามัคคีกันไม่ได้ก็งดเสีย
6. งดเว้นจากการพูดวาจาหยาบคายที่เผ็ดร้อน ที่เป็นปม เป็นที่ขัดข้องของผู้อื่น เป็นที่ระคายหูของผู้ที่ได้ยินได้ฟัง ยิ่งเป็นคำด่าคำแช่ง แม้แต่กับสัตว์ดิรัจฉานก็ไม่ควรพูดเลย เพราะเป็นการส่อสันดานของตนเองว่าเป็นคนเลว
พยายามพูดแต่คำที่อ่อนหวาน เรียบร้อย นุ่มนวล ละมุนละไม เป็นที่พอใจชุ่มชื่นเบิกบานใจของผู้ที่ได้ยินได้ฟัง
7. งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ได้แก่ งดการพูดในเวลาที่ไม่ควรพูด ในสถานที่ที่เขาไม่ต้องการให้เราพูด การพูดมากไปกว่าความจริง พูดไม่มีเหตุผล พูดวาจาไม่มีหลักฐาน ไม่พูดตามธรรมวินัย พูดไม่รู้จักหยุด แม้ไม่มีใครอยากฟังแล้วก็ยังพูดเรื่อยเปื่อยไปโดยไม่มีประโยชน์
ต้องใช้สติสัมปชัญญะในการพูดทุกครั้ง ถึงเป็นเรื่องจริงก็ต้องพูดให้ถูกกาลเทศะ พูดให้มีเหตุผลพอที่จะเชื่อถือได้ พูดให้ถูกตามธรรมตามวินัย พูดแต่พอเหมาะพอสมควรไม่ให้มากเกินเรื่องราวจนจับไม่ได้ว่าเรื่องอะไร ซึ่งเรียกว่า “พูดเป็นน้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง” หรือ “พูดกระบุงเอาสักกระบายไม่ได้” ดังนี้ ถ้าเห็นว่าพูดแล้วมีประโยชน์แก่ผู้ฟังจึงพูด ถ้าเห็นว่าพูดแล้วจะไม่มีประโยชน์เลยก็อย่าพูดเสียดีกว่า จงนึกถึงภาษิตโบราณไว้เสมอว่า
“อันดีชั่วสุดนิยมที่ลมปาก
จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา
จะถูกผิดเป็นมนุษย์เพราะพูดจา
จะเจรจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ”
8. ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน ได้แก่ เมื่อเห็นพัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้สอย ทั้งที่มีวิญญาณ และไม่มีวิญญาณของผู้อื่นแล้ว แม้ตนจะชอบพอใจก็ไม่พยายามเพ่งว่า ขอให้สมบัติของผู้นั้นจงมาเป็นของเรา หรือครุ่นคิดแต่ในใจว่า ทำไฉนเราจึงจะได้ทรัพย์สมบัติของผู้นั้นหนอดังนี้
จงพยายามคิดให้เห็นว่า ทรัพย์สมบัติเครื่องใช้สอยอย่างดีเป็นอันมาก เกิดขึ้นแก่ผู้นั้นก็เพราะเขาได้ทำความดีเป็นบุญเป็นกุศลมาก่อน แม้ชาตินี้เราไม่เห็นเขาทำอะไร ก็คงเป็นเพราะเขาทำมาแล้วแต่อดีตชาติโน้น ผลจึงเกิดสนองให้เขาเป็นคนมั่งมีด้วยทรัพย์สมบัติอันน่าปลื้มใจ เช่นนั้นถ้าเราไปโลภอยากได้ของเขา จะทำให้เกิดเป็นบาปแก่ใจ คือเป็นสนิมเกาะกินจิตใจของเราเหมือนสนิมอันเกิดแก่เหล็ก และเกาะกินเนื้อเหล็กฉะนั้น ทำให้จิตใจของเรากร่อนอ่อนกำลังลงไม่สามารถจะทำความดีอย่างอื่นได้
ควรพยายามแสดงมุทิตาจิตพลอยยินดีต่อผู้นั้น แล้วพยายามบำเพ็ญบุญกุศล เช่นให้ทาน เสียสละความโลภของตนให้เบาบางลง และขวนขวายช่วยเหลือผู้อื่นในการทำความดีเป็นต้น ผลจะบังเกิดแก่ตนเองในภายหลัง
9. ไม่พยาบาทปองร้ายเขา คือ ไม่คิดอยากให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่จองเวรต่อสัตว์และคนอื่น ไม่ตั้งใจที่จะให้ใคร ๆ เป็นผู้ฉิบหาย หรือวิบัติด้วยประการใด
แม้จะโกรธเคืองใครบ้าง โดยที่เขามาทำอะไรให้เสียหาย หรือมาด่าว่าให้เกิดความเจ็บช้ำน้ำใจ ก็ไม่อาจอาฆาตพยาบาทจองเวรผู้นั้นต่อไปอีก เช่น เขามาทำร้ายเราก็ให้คิดเสียว่า เพราะเราระวังตัวไม่ดีหรือเพราะเราเคยทำร้ายให้เขาเดือดร้อนมาก่อนแล้ว กรรมจึงติดตามมาสนองเรา ขอให้เป็นการใช้หนี้
กรรมกันสุดสิ้นแต่เพียงชาตินี้เถิด หรือเขามาโกงเงินเรา โดยยืมไปแล้วไม่ใช้คืน หรือเข้าหุ้นกันแล้วเขาโกงไปเสีย เช่นนี้จงคิดว่าเราเคยโกงเขามาแล้วในชาติก่อนโน้น เขาจึงโกงเอาคืนไป ขอให้สิ้นสุดเวรกรรมกันเสียที ตั้งใจแผ่เมตตาให้เขาเหล่านั้นจงเป็นผู้มีความสุขปราศจากทุกข์ มีความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปเถิด อย่าพยาบาทจองเวรซึ่งกันและกันเลย พิจารณาให้เห็นโทษว่า การพยาบาทนั้นมันทำให้เราเดือดร้อนกระวนกระวาย กระสับกระส่ายเป็นทุกข์ใจไปคนเดียว เราเป็นผู้ขาดทุนคนเดียวแท้ ๆ จักผ่อนคลายความพยาบาทลงได้มากทีเดียว หรือคิดให้เห็นว่า ความพยาบาทนี้หากจองเวรกันตลอดไปแล้วย่อมไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนงูเห่ากับพังพอน
10. เห็นชอบตามทำนองคลองธรรม ได้แก่ เห็นว่าบุญมีจริงบาปมีจริง ผลของบุญมี ผลของบาปมี คนทำดีย่อมได้ดี คนทำชั่วย่อมได้ชั่ว นรกมี สวรรค์มี และนิพพานก็มี โลกนี้โลกอื่นมี ชาตินี้ชาติหน้ามี
สัตว์ที่ยังมีกิเลสทำกรรมไว้ ตายแล้วย่อมต้องเกิดเสวยผลของกรรมนั้นอีก ผู้ที่ไม่มีกิเลสอันเป็นเหตุให้ทำกรรมมีจิตสงบบริสุทธิ์หมดจดตายแล้วย่อมไม่ ต้องเกิดอีก เพราะหมดเหตุหมดปัจจัยอันจะทำให้เกิดแล้ว
http://www.bcoms.net/buddhism/detail.asp?id=170
นางสาวสุพัตรา ถนอมพลกรัง เลขที่ 24 พณ.3/12
วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ผู้ดูแลระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ คือ เพื่อเป็นการปูพื้นความรู้ความเข้าใจให้ตรงกัน โดยทำหน้าที่ในการในการจัดสรรทรัพยากรในระบบคอมพิวเตอร์ให้กับ "โปรแกรมประยุกต์"
บทบาทหน้าที่ของผู้ดูแลระบบปฏิบัติการ
- บุคคลที่ถูกว่าจ้างเพื่อที่จะดูและจัดการระบบหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- ผู้ดูแลจะทำหน้าที่ติดตั้ง ตอบคำถาม ดูแลเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ
- ควบคุมโครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์
-ทำหน้าที่ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมาประสิทธิภาพ
ที่มาของข้อมูล
http://zeepoty.tripod.com/Data1/2.htm
http://www.kruchanpen.com/network/os.htm#a
นาวสาว สุพัตรา ถนอมพลกรัง เลขที่24 พณ.3/12
วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554
ช่องทางการสื่อสารข้อมูลของคอมพิวเตอร์
พอร์ตอนุกรมของอุปกรณ์ภายนอก DB9 ตัวเมีย (Female)
-พอร์ตอนุกรมของ PC จะเป็นคอนเน็คเตอร์แบบ DB9 ตัวผู้ (Male)
-พอร์ตอนุกรม ของอุปกรณ์ภายนอก จะเป็นคอนเน็คเตอร์แบบ DB9 ตัวเมีย(FeMale)
แสดงการจัดขา ของคอนเน็กเตอร์ อนุกรมแบบ DB9 และหน้าที่การใช้งานต่างๆ
การเชื่อมต่ออุปกรณ์อุกรณ์ภายนอกเข้ากับคอมพิวเตอร์ด้วยสาย DB9
การเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกผ่าน DB9 แบบ Null modem
การต่ออุปกรณ์ภายนอกผ่าน DB9 แบบ 3 เส้น
การทำงานของขาสัญญาณ DB9
TXD เป็นขาที่ใช้ส่งข้อมูล RXD เป็นขาที่รับใช้ข้อมูล DTR แสดงสภาวะพอร์ตว่าเปิดใช้งาน ,DSR ตรวจสอบว่าพอร์ต ที่ติดต่อด้วย เปิดอยู่หรือไม่ - เมื่อเปิดพอร์ตอนุกรม ขา DTR จะ ON เพื่อให้อุปกรณ์ได้รับทราบว่าต้องการติดต่อด้วย - ในขณะเดียวกันก็จะตรวจสอบขา DSR ว่าอุปกรณ์พร้อมหรือไม่
RTS แสดงสภาวะพอร์ตว่าต้องการส่งข้อมูล ,CTS ตรวจสอบว่าพอร์ตที่ติดต่ออยู่ ต้องการส่งข้อมูลหรือไม่ - เมื่อต้องการส่งข้อมูลขา RTS จะ ON และจะส่งข้อมูลออกที่ขา TXD เมื่อส่งเสร็จก็จะ OFF - ในขณะเดียวกันก็จะตรวจสอบขา CTS ว่าอุปกรณ์ต้องการที่จะส่งข้อมูลหรือไม่
GND ขา ground
ระดับสัญญาณของ RS232
ระดับสัญญาณของ RS232C และระดับสํญญาณของ TTL
สัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้น ในสายนำสํญญาณ มักจะมีแรงดันเป็นบวก เมื่อเทียบกับกราวน์ - เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนนี้ จึงออกแบบแรงดัน ของโลจิก "1" เป็นลบ คืออยู่ในช่วง -3V ถึง -15V ส่วนแรงดัน ของโลจิก "0" อยู่ในช่วง +3V ถึง +15V - และเหตุที่ ระดับสัญญาณ ของ RS232 อยู่ในช่วง +15V ถึง -15V ก็เพื่อให้ต่อสายสัญญาณไปได้ไกลขึ้นดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีวงจรเปลี่ยนระดับแรงดันของ RS232 มาเป็นระดับแรงดันของ TTL
อัตราการส่งข้อมูล (Baud rate)
-คือความเร็วของการรับ -ส่งข้อมูล เป็นจำนวนบิทต่อวินาทีเช่น 300, 1,200, 2,400, 4,800 , 9,600 ,14,400 ,19,200, 38,400 ,56,000 เป็นต้น - การเลือกอัตราการส่งข้อมูลขึ้นอยู่กับ ชนิดของสายสัญญาณ, ระยะทาง,และปริมาณสัญญาณรบกวน
รูปแบบการสื่อสารแบบอนุกรมมีด้วยกันอยู่ 2 แบบ คือ
แบบซิงโครนัส (Synchronous) แบบอะซิงโครนัส(Asynchronous)
การสื่อสารแบบซิงโครนัส (Synchronous)
-การรับส่งข้อมูล จะมีสัญญาณนาฬิกา ซึ่งเป็นตัวกำหนด จังหวะเวลา การส่งข้อมูล ร่วมอยู่ด้วยอีกเส้นหนึ่ง ใช้คู่กับสัญญาณข้อมูล ตัวอย่างเช่น การส่งสัญญาณจากคีย์บอร์ด
การสื่อสารแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous) - การรับส่งข้อมูล โดยที่ไม่จำเป็นต้อง มีสัญญาณนาฬิกา ร่วมด้วย แต่จะใช้ให้ตัวส่ง และตัวรับ มีอัตราส่งข้อมูล ที่เท่ากัน
รูปแบบข้อมูลแบบอะซิงโครนัส ประกอบด้วย 4 ส่วนคือ
1บิตเริ่มต้น (Start bit) มีขนาด1 บิต 2บิตข้อมูล (Data) มีขนาด 5,6,7 หรือ 8 บิต 3บิตตรวจสอบพาริตี้ (Parity bit) มีขนาด 1 บิตหรือไม่มี 4บิตหยุด (Stop bit) มีขนาด 1, 1.5, 2 บิต
- เมื่อไม่มีการส่งข้อมูล ขา data จะมีสถานะเป็นโลจิก "1" หรือ สถานะหยุดรอ (Waiting stage) - เมื่อเริ่มต้นส่งข้อมูลจะให้ขา data เป็นโลจิก "0" เป็นจำนวน 1 บิต เรียกว่าบิตเริ่มต้น (Start bit) - จากนั้นก็จะเริ่มต้นส่งข้อมูล โดยส่งบิตต่ำไปก่อน (LSB) - แล้วตามด้วยพาริตี้บิต (จะมีหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการติดตั้งค่า ของทั้งสองฝ่าย) - สุดท้ายตามด้วยโลจิก "1" อย่างน้อย 1 บิต ( มีขนาด 1, 1.5, หรือ 2 บิต) เพื่อแสดงว่าสิ้นสุดข้อมูล
การรับและส่งข้อมูลแบบอนุกรมยังแบ่งออกเป็นลักษณะการใช้งานได้ 3 แบบคือ 1).แบบซิมเพลกซ์ (Simplex) เป็นการส่ง หรือรับข้อมูล แบบทิศทางเดียว เท่านั้น 2.).แบบฮาล์ฟดูเพลกซ์ (Half Duplex) เป็นการส่งและรับข้อมูลแบบสลับกัน คือเมื่อด้านหนึ่งส่ง อีกด้านหนึ่ง เป็นฝ่ายรับ สลับกัน ไม่สามารถรับ-ส่งในเวลาเดียวกันได้ 3).แบบฟลูดูเพลกซ์ (Full Duplex) สามารถรับ-ส่งข้อมูลในเวลาเดียวกันได้http://www.thaimicrotron.com/CCS-628/Referrence/RS232.htm
2.)UTP
สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) หรือสาย CAT (Category) เป็นสายเส้นเล็กจำนวน 8 เส้นตีเกลียวคู่ มีอยู่ 4 คู่ ไม่มีเส้นลวดถัก (shield) เพราะการตีเกลียวคู่เป็นการลดสัญญาณรบกวนอยู่แล้ว การใช้งานจะต้องมีการแค๊มหัว RJ-45 เข้ากับสาย UTP แล้วนำไปเสียบเข้ากับ Hub มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล 10/100Mbps ปัจจุบันนิยมใช้สาย CAT 5 กันมาก เพราะสนับสนุนการรับ-ส่งข้อมูลความเร็วตั้งแต่ 10-100 Mbpsและได้เกือบ 1000 Mbps คืออยู่ราวๆ 700 - 800 Mbps ตอนนี้ที่ใช้อยู่ คือวงแลนวงใหม่ที่ได้ทำให้กับ อาคารสถาบันดำรงราชานุภาพ
ที่มา :http://www.numsai.com/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2-UTP-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html
3.) Serial
พอร์ตอนุกรม (Serial Port) เป็นพอร์ตสำหรับต่อกับอุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต โดยส่วนใหญ่เราจะใช้สำหรับต่อกับเมาส์ในกรณีที่คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นไม่มีพอร์ต PS/2 หรือเป็นเคสแบบ AT นอกจากนั้นเรายังใช้สำหรับเป็นช่องทางการติดต่อโมเด็มด้วย ในคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องจะมีพอร์ตอนุกรมให้อยู่สองพอร์ต เรียกว่าพอร์ตคอม 1 และพอร์ตคอม 2 นอกจากนั้นอาจจะมีฮาร์ดแวร์บางตัว เช่น จอยสติ๊กรุ่นใหม่ ๆ มาใช้พอร์ตอนุกรมนี้เช่นกัน • พอร์ตอนุกรมจะมีหัวเข็ม 9 เข็ม หรือ 25 เข็ม (พอร์ตนี้จะเป็นตัวผู้ เพราะมีเข็มยื่นออกมา) • พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เม้าส์ โมเด็ม สแกนเนอร์ เป็นต้น • สามารถต่อความยาวได้ถึง 6 เมตร และราคาสายก็ไม่แพงนัก
ที่มา : http://www.zabzaa.com/tips/showtips.asp?GID=134
4.)Parallel
พอร์ตขนาน (Pararell Port) หน้าที่ของพอร์ตตัวนี้ก็คือใช้สำหรับติดต่อกับเครื่องพิมพ์เป็นหลัก ปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถใช้งานร่วมกับสแกนเนอร์ หรือว่าไดรฟ์ซีดีอาร์ดับบลิวได้ด้วย พอร์ตแบบนี้มีขนาดยาวกว่าพอร์ตอนุกรมทั่ว ๆ ไป โดยมีจำนวนพินเท่ากับ 25 พิน สังเกตได้ง่าย • พอร์ตขนานจะมีรู 25 รู (พอร์ตนี้จะเป็นตัวเมีย หมายถึงมีรูที่ตัวพอร์ต) • พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เทปไดร์ฟ สแกนเนอร์ เป็นต้น • สามารถต่อความยาวไม่มากนัก แถมมีราคาแพงกว่าสายของพอร์ตอนุกรมด้วย • การส่งสัญญาณจะส่งได้เร็วกว่าพอร์ตอนุกรม
ที่มา : http://www.zabzaa.com/tips/showtips.asp?GID=134
Parallel Port พอร์ตพาราเรล เป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู 25 รู สำหรับต่อสายพรินเตอร์ หรือสแกนเนอร์ที่มีพอร์ตแบบพาราเรล ซึ่งส่วนใหญ่ จะใช้ต่อกับเครื่องพรินเตอร์มากกว่า ซึ่งบางคนจะเรียกว่าพรินเตอร์พอร์ต โดยส่วนใหญ่พอร์ตพาราเรล จะมีกับเครื่อง พรินเตอร์รุ่นเก่า หรือในเครื่องพรินเตอร์ระดับกลางๆ ขึ้นไป
5.)Port/หมายเลข port
Port คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคลแบบ TCP/IP จะมีหมายเลขประจำเครื่องที่เรียกว่า IP Address และเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องต้องการรับ-ส่งข้อมูลบนระบบเครือข่ายผ่านโปรแกรมต่างๆก็จะต้องมีช่องทางในการรับ-ส่งข้อมูลซึ่งช่องทางเหล่านั้นจะถูกเรียกว่า Port โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องก็สามารถมีช่องทางสำหรับการรับ-ส่งข้อมูล (Port) ได้หลายช่องทาง (หลาย Port) โดยที่แต่ละช่องทางก็จะมีหมายเลขประจำของตัวเองซึ่งเรียกว่า Port No. โดยที่การรับ-ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์บนระบบเครือข่ายจึงมีชุดหมายเลขอยู่ 2 ชุด ซึ่งจะถูกใช้ในการกำหนดเส้นทางการเดินทางรับ-ส่งข้อมูล คือIP Address - หมายเลขประจำเครื่อง (รับ-ส่งข้อมูลมาจากและไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใด)Port No. - หมายเลขประจำพอร์ต (ผ่านทางช่องทางไหน)ทั้งนี้ IP Address และ Port No. จะมีลักษณะเป็นหมายเลขเฉพาะที่ไม่สามารถใช้ซ้ำกันได้
ที่มา : http://www.thaiipcamera.com/network/50-info/556-port.html
หมายเลข port คือเลขฐาน 16 บิต ตั้งแต่ 0 ถึง 65535 หมายเลข port แต่ละหมายเลขจะถูกกำหนดโดยเฉพาะจาก OS (Operating Systems)ทาง Internet Assigned Numbers Authority (IANA) เป็นหน่วยงานกลางในการประสานการเลือกใช้ Port ว่า Port หมายเลขใดควรเหมาะสำหรับ Service ใดเช่น เลือกใช้ TCP Port หมายเลข 23 กับ Service Telnet และเลือกใช้ UDP Port หมายเลข 69 สำหรับ Service Trivial File transfer Protocol (TFTP)
ที่มา : http://www.compspot.net/index.php?tion=com_content&task=view&id=328&Itemid=46
6.)LAN RJ45-UTP
lan RJ45-utpสิ่งจำเป็นสำหรับการเข้าหัวสาย Lan (สาย UTP / หัว RJ45) สายสัญญาณที่ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เพื่อให้เป็นระบบ Network ที่นิยมใช้กันมากที่สุด เห็นจะหนีไม่พ้นสาย UTP CAT 5e หรือ UTP CAT 6 (ปัจจุบันเริ่มมีการใช้ Lan แบบ ไร้สาย หรือ Wireless Lan กันมาขึ้น เพราะสะดวกและติดตั้งง่ายสวยงามอีกต่างหาก เนื่องจากไม่ต้องมีสายต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์หรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่าสาย Lan นั้นล่ะครับสาย UTP ว่า "การเข้าหัวสาย Lan" ในการเข้าหัวสาย Lan เราต้องใช้เครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นดังนี้หัว RJ45 Modulat Plug Boot อันนี้จะมีหรือไม่มีก็ได้ ถ้ามีก็ดีครับเพื่อป้องกันสายหักบริเวณปลายหัว RJ45 แลยังดูเรียบร้อยดีอีกด้วยคีมสำหรับตัดสายและย้ำหัว RJ45ตัวปลอกสาย UTP หากไม่มีใช้มีดคัดเตอร์แทนก็ได้เครื่องทดสอบสาย LAN จริงๆ มีหลายยี่ห้อมากสำหรับเครื่องที่ใช้ทดสอบสาย UTP แต่ในรูปเป็นของ Fluke คุณสมบัติของรุ่นนี้ก็เช่นสามารถเช็คความยาวสาย ได้ทั้งแบบเมตรและฟุต Ping,test ไปยัง IP ที่ต้องการได้,กำหนด IP ให้ตัวเองได้ทั้งแบบ Static และ DHCPสาย UTP (สาย Lan) ภายในสาย UTP เมื่อเราปลอกเปลือกที่หุ้มสายออกแล้วเราจะพบว่ามีสายเล็กๆ อยู่อีก 4 คู่ (8 เส้น) คือ· ขาวส้ม - ส้ม· ขาวเขียว - เขียว· ขาวน้ำเงิน - น้ำเงิน· ขาวน้ำตาล - น้ำตาล
ที่มา : http://www.wirelink.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=68:-lan-utp-rj45&catid=31:general&Itemid=53