วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โครงการ E-learning ระบบฐานข้อมูล

การพัฒนาเว็บเพจการเรียนการสอนระบบ E-learning รายวิชา ระบบฐานข้อมูล
ด้วยโปรแกรม Publisher

ภูมิหลัง
ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในระบบงานต่าง ๆ ร่วมกันได้ โดยที่จะไม่เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และยังสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลด้วย อีกทั้งข้อมูลในระบบก็จะถูกต้องเชื่อถือได้ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยจะมีการกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลขึ้น
นับได้ว่าปัจจุบันเป็นยุคของสารสนเทศ เป็นที่ยอมรับกันว่า สารสนเทศเป็นข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรองอย่างเหมาะสม สามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้งานด้านธุรกิจ การบริหาร และกิจการอื่น ๆ องค์กรที่มีข้อมูลปริมาณมาก ๆ จะพบความยุ่งยากลำบากในการจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนการนำข้อมูลที่ต้องการออกมาใช้ให้ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล ซึ่งทำให้ระบบการจัดเก็บข้อมูลเป็นไปได้สะดวก ทั้งนี้โปรแกรมแต่ละโปรแกรมจะต้องสร้างวิธีควบคุมและจัดการกับข้อมูลขึ้นเอง ฐานข้อมูลจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้คอมพิวเตอร์ การออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูล จึงต้องคำนึงถึงการควบคุมและการจัดการความถูกต้องตลอดจนประสิทธิภาพในการเรียกใช้ข้อมูลด้วย
โปรแกรมฐานข้อมูล เป็นโปรแกรมหรือซอฟแวร์ที่ช่วยจัดการข้อมูลหรือรายการต่าง ๆ ที่อยู่ในฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ การเรียกใช้ การปรับปรุงข้อมูล
โปรแกรมฐานข้อมูล จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งโปรแกรมฐานข้อมมูลที่นิยมใช้มีอยู่ด้วยกันหลายตัว เช่น Access, FoxPro, Clipper, dBase, FoxBase, Oracle, SQL เป็นต้น โดยแต่ละโปรแกรมจะมีความสามารถต่างกัน บางโปรแกรมใช้ง่ายแต่จะจำกัดขอบเขตการใช้งาน บ่งโปรแกรมใช้งานยากกว่า แต่จะมีความสามารถในการทำงานมากกว่า
โปรแกรม Access นับเป็นโปรแกรมที่นิยมใช้กันมากในขณะนี้ โดยเฉพาะในระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถสร้างแบบฟอร์มที่ต้องการจะเรียกดูข้อมูลในฐานข้อมูล หลังจากบันทึกข้อมูลในฐานข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จะสามารถค้นหาหรือเรียกดูข้อมูลจากเขตข้อมูลใดก็ได้ นอกจากนี้ Access ยังมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยการกำหนดรหัสผ่านเพื่อป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลในระบบได้ด้วย

จุดมุ่งหมายของการศึกษา
1.เพื่อให้ผู้ที่มาศึกษาได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับ วิชา ระบบฐานข้อมูล
2.เพื่อให้ผู้ที่ศึกษาได้เรียนรู้เนื้อหาจากสื่อการเรียนการสอน
3.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสื่อการเรียนการสอน

ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
1.สร้างเว็บเพจรายงาน วิชาระบบฐานข้อมูล
2.การศึกษาครั้งนี้เราใช้หลักการการพัฒนาระบบฐานข้อมูล
3.ระบบ E-Learning จำเป็นต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
3.1.แสดงส่วนผลของผู้ใช้งาน (User)
3.2.มีเนื้อหาบทเรียนอย่างน้อย 5 บท
3.3.มีการทดสอบการเรียนรู้ อย่างน้อยหนึ่งครั้ง เช่น ก่อนเรียน หรือ หลังเรียน
3.4.มีกระดานข่าว ( Web Board )
3.5.มีแบบสำรวจความคิดเห็น

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่ศึกษาได้หาความรู้ได้ง่ายขึ้น
2.เป็นการเผยแพร่รายวิชาระบบฐานข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต
3.มีผู้เข้าชมเว็บ E-Learning

ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.นำเสนอหัวข้อต่อกรรมการโครงการ
2.ศึกษาและรวบรวมข้อมูล
3.วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
4.พัฒนาระบบงาน
5.ทดสอบและปรับปรุงระบบงาน
6.จัดทำรายงานการศึกษาค้นคว้า
7.เสนอผลงานต่อคณะกรรมการโครงการ
8.แสดงผลงานทางวิชาการ

นิยามศัพท์เฉพาะ
1.E-Learning หมายถึง การเรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต หรือทางสัญญาณโทรศัพท์ หรือทางสัญญาณดาวเทียม (Satellite) ก็ได้ ซึ่งเนื้อหาสารสนเทศอาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกันมาพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer – Assisted Instruction) การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction ) การเรียนออนไลน์ (On – line Learning ) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรืออาจอยู่ในลักษณะที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เช่น การเรียนจากวิดีโอโทรทัศน์ตามอัธยาศัย (Video On-Demand) เป็นต้น
2.ระบบฐานข้อมูล หมายถึง แหล่งที่ใช้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปแฟ้มข้อมูลมารวมไว้ที่เดียวกัน รวมทั้งต้องมีส่วนของพจนานุกรมข้อมูล (data dictionary) เก็บคำอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างของฐานข้อมูล และเนื่องจากข้อมูลที่จัดเก็บนั้นต้องมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทำให้สามารถสืบค้น (retrieval) แก้ไข (modified) ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ข้อมูล (update) และจัดเรียง (sort) ได้สะดวกขึ้นโดยในการกระทำการดังที่กล่าวมาแล้ว ต้องอาศัยซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับจัดการฐานข้อมูล
3.อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติ ที่มีสายตรงเชื่อมต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั่วโลก. ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางอีเมล์ สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้. อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง (เช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย, องค์กร หรือเครือข่ายของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต) มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผล

สมาชิกในกลุ่ม
1.นางสาวเจนจิรา ทองโคตร เลขที่ 9
2.นางสาวสุพัตรา ถนอมพลกรัง เลขที่ 24
3.นางสาวจิดาภา เชื้อสาวะถี เลขที่ 4
4.นางสาวจริยา รัดถา เลขที่ 3

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

CheckedListBox




การใช้งานคอนโทรล CheckedlistBox

คอนโทรล CheckedlistBox เป็นคอนโทรลที่ทำหน้าที่เป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้ เช่นเดียวกับคอนโทรล OptionButton และ CheckBox ต่างกันตรงที่รูปแบบ การนำเสนอให้กับผู้ใช้ ในการใช้งานแบบปกติ

วิธีการเรียกใช้
CheckedlistBox

1. ถ้าคุณต้องการใช้งานคอนโทรล CheckedlistBox ให้คลิ๊กเลือก CheckedlistBox บน Tool Box มีลักษณะดังรูป
2. เปลี่ยนคุณสมบัติต่างๆ ดังที่ต้องการ



Text


คุรณสมบัตินี้มีหน้าที่สำหรับคืนค่า หรือกำหนดข้อความให้กับคอนโทรล ListBox ซึ่งข้อความที่คุณสมบัตินี้เก็บอยู่ หมายถึง รายการที่ผู้ใช้เลือกนั่นเอง

Font

คุณสมบัตินี้มีหน้าที่สำหรับกำหนดรูปแบบของฟอนต์ ลักษณะของฟอนต์ และขนาดของฟอนต์ มีรูปแบบการใช้งานดังนี้



List1.Font.Name [=fontname]
List1.Font.Size [=points]
List1.Font.Bold [=boolean]
List1.Font.Italic [=boolean]
List1.Font.Strikethru [=boolean]
List1.Font.Underline [=boolean]



BackColor และ ForeColor



คุณสมบัติ BackColor มีหน้าที่สำหรับ กำหนดสีพื้นหลัง (Background) ของตัวคอนโทรล และ คุณสมบัติ ForeColor มีหน้าที่สำหรับ กำหนดสีของข้อความ ที่ปรากฎอยู่ในคอนโทรล ListBox มีรูปแบบการใช้งานดังนี้



List1.BackColor [= color]
List1.ForeColor [= color]



SelLength, SelStart และ SelText



คุณสมบัติ SelLength มีหน้าที่สำหรับคืนค่า หรือกำหนดจำนวนตัวอักษรที่คุณต้องการเลือก คุณสมบัติ SelStart มีหน้าที่สำหรับคืนค่า หรือกำหนดตัวอักษรที่เป็นตัวแรก ที่คุณต้องการเลือก ส่วนคุณสมบัติ SelText มีหน้าที่สำหรับรายงานข้อความที่ได้ถูกเลือกเอาไว้ โดยที่คุณจะต้องกำหนดให้คุณสมบัติ Style=0 หรือ 1 เท่านั้น คุณสมบัติทั้ง 3 ตัวมีรูปแบบการใช้งานดังนี้



Combo1.SelLength [= number]
Combo1.SelStart [= index]
Combo1.SelText [= value]



MousePointer



คุณสมบัตินี้มีหน้าที่สำหรับ กำหนดรูปแบบของเมาส์ มีรูปแบบการใช้งานดังนี้



Combo1.MousePointer [= value]



TopIndex



คุณสมบัตินี้มีหน้าที่สำหรับคืนค่า หรือกำหนดให้ รายการที่อยู่ในคอนโทรล ComboBox ที่มีค่า Index เท่ากับคุณสมบัตินี้ แสดงเป็นรายการแถวบนสุด ในขณะรัน ไม่ใช่การสลับตำแหน่งกัน ลำดับต่างๆ ที่ปรากฎอยู่ในคอนโทรลยังคงเดิม เพียงแต่เป็นการกำหนดคอนโทรล ComboBox แสดงรายการอื่นๆ ที่ไม่ใช่รายการแรก ปรากฎขึ้นมาในตัวคอนโทรล มีรูปแบบการใช้งานดังนี้



Combo1.TopIndex [= value]



Visible



คุณสมบัตินี้มีหน้าที่สำหรับคืนค่า หรือกำหนดให้คอนโทรล ComboBox สามารถมองเห็นได้หรือไม่ มีประโยชน์ในกรณีที่ ในบางครั้งคุณต้องการซ่อนตัวคอนโทรลไม่ให้ผู้ใช้เห็น แต่ตัวคอนโทรลยังคงอยู่ในหน่วยความจำ มีรูปแบบการใช้งานดังนี้



Combo1.Visible [=boolean]



Move



เมธอดนี้มีหน้าที่สำหรับกำหนดให้คอนโทรล ComboBox เคลื่อนย้ายตำแหน่ง หรือปรับขนาดของคอนโทรล โดยหน่วยวัดที่ใช้ จะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ ScaleMode ปกติแล้วจะมีหน่วยเป็น Twip มีรูปแบบการใช้งานดังนี้



Combo1.Move left[,top,width,height]



SetFocus



เมธอดนี้มีหน้าที่สำหรับกำหนดให้คอนโทรลที่ใช้คุณสมบัตินี้ได้รับโฟกัส (focus) หรือได้รับความสนใจทันที อาจกล่าวได้ว่า เป็นการบังคับให้คอนโทรล ได้รับความสนใจนั่นเอง มีผลให้อ๊อบเจ็กต์ หรือคอนโทรลอื่นๆ สูญเสียโฟกัสทันที มักใช้ในกรณีที่ คุณต้องการบังคับให้เกิดการกระทำ หรือประมวลผลต่อคอนโทรลที่คุณต้องการทันที มีรูปแบบการใช้งานดังนี้



Combo1.SetFocus



Enabled



คุณสมบัตินี้มีหน้าที่คืนค่า หรือกำหนดให้คอนโทรล ScrollBar สามารถตอบรับ หรือตอบสนองเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดจากผู้ใช้ หรือเกิดจากการประมวลผลได้หรือไม่ มีรูปแบบการใช้งานดังนี้



vsb1.Enabled [=boolean]

http://kampol.htc.ac.th/web1/subject/programming2/sheet/vb6/vbch07.html

Properties
(Name) = Form1
Text = Form1
ForeColor = Controltext
Font = Font , FontStyle: , Size:
Backcolor = Control
SizeGripstyle = Auto
AutoScaleMode = None
AutoScroll = False
Cursor = Default
FormBorderStyte = Sizable


ตัวอย่างการใช้งาน

using System;
using System.Collections.Generic;
using System.ComponentModel;
using System.Data;
using System.Drawing;
using System.Linq;
using System.Text;
using System.Windows.Forms;
namespace WindowsFormsApplication3
{
public partial class Form1 : Form
{
public Form1()
{
InitializeComponent();
}
private void button1_Click(object sender, EventArgs e)
{
}
private void checkedListBox1_SelectedIndexChanged(object sender, EventArgs e)
{
label1.Text = checkedListBox1.SelectedItem.ToString();
}
}
}


การเขียนโปรแกรม C# GUI

namespace looknam
{
public partial class Form1 : Form
{
public Form1()
... {
InitializeComponent();
}

private void radioButton1_CheckedChanged(object sender, EventArgs e)
{

}

private void radioButton1_Click(object sender, EventArgs e)
{
MessageBox.Show("คุณเลือกเพศชาย");
}

private void radioButton2_Click(object sender, EventArgs e)
{
MessageBox.Show("คุณเลือกเพศหญิง");
}

private void Form1_Load(object sender, EventArgs e)
{
radioButton1.Checked = false;
radioButton2.Checked = false;
}

private void checkBox1_CheckedChanged(object sender, EventArgs e)
{

}

private void checkBox2_CheckedChanged(object sender, EventArgs e)
{
showColor();
//panel1.BackColor = Color.Green;
}

private void checkBox3_CheckedChanged(object sender, EventArgs e)
{
showColor();
//panel1.BackColor = Color.Blue;
}

private void checkBox1_Click(object sender, EventArgs e)
{
showColor();
//panel1.BackColor = Color.Red;
}

private void checkBox2_Click(object sender, EventArgs e)
{
showColor();
//panel1.BackColor = Color.Green;
}

private void checkBox3_Click(object sender, EventArgs e)
{
showColor();
//panel1.BackColor = Color.Blue;

}
private void showColor()
{
if((checkBox1.Checked) && (checkBox2.Checked) && (checkBox3.Checked))
{
panel1.BackColor = Color.White;
}
else if ((checkBox1.Checked) && (checkBox2.Checked))
{
panel1.BackColor = Color.Yellow;
}
else if((checkBox1.Checked) && (checkBox3.Checked))
{
panel1.BackColor = Color.Magenta;
}
else if((checkBox2.Checked) && (checkBox3.Checked))
{
panel1.BackColor = Color.Cyan;
}
else if(checkBox1.Checked)
{
panel1.BackColor = Color.Green;
}
else if(checkBox2.Checked)
{
panel1.BackColor = Color.Blue;
}
else if(checkBox3.Checked)
{
panel1.BackColor = Color.Red;
}
}

}

}ดูเพิ่มเติม