วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

MAINBOARD




ชนิดของเมนบอร์ด
สามารถแบ่งเมนบอร์ดออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่คือเมนบอร์ดแบ่งตาม
โครงสร้างและเมนบอร์ดแบ่งตามช็อคเก็ตใส่ซีพียูเมนบอร์ดแบ่งตามโครงสร้าง
เมนบอร์แบ่งตามโครงาร้างเรียกว่า Form Factors หมายถึง การจำแนก
เมนบอร์ดเป็นชนิดต่างๆตามลักษณะโครงสร้าง ขนาดและรูปร่าง ตามมาตรฐานแล้วจะ
มีแบบ AT และ ATX แต่ทั้งนี้เมนบอร์ดแบบATXก็ยังแบ่งย่อยออกไปอีกหลายรูปแบบ
ได้แก่ Micro ATX และ Flex ATX ซึ่งแต่ละแบบมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไป






เมนบอร์ดแบบ AT Micro-ATX and micro-BTX เมนบอร์ดแบบ ATX

เมนบอร์ดแบบ AT เมนบอร์ดแบบ ATXชนิดเมนบอร์ดลักษณะโครงสร้างAT เป็นเมนบอร์ดที่มีความกว้างและยาวใกล้เคียงกันจึงมีลักษณะคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าแต่สิ่งที่ทำให้
เมนบอร์ดแบบนี้ต่างจากแบบATXคือขั้วรับไฟจะมีเพียง12 ขาต่างจากแบบ ATX จะมีขั้วรับไฟ
20 ขา ดังนั้นเมนบอร์ดชนิดนี้จึงต้องใช้กับแคสที่เป็นเมนบอร์ดแบบ AT ด้วยเช่นกันโดยทั่วไป
เมนบอร์ดแบบนี้จะถูกกว่าแบบATX เล็กน้อยการปิดเครื่องผ่านแบบนี้ใช้สวิทส์เป็นตัวควบคุมไม่
สามารถปิดเครื่อง ทางปุ่มบนคีย์บอร์ดหรือสั่ง Shutdown ผ่านทาง Window ได้ATXเป็นเมนบอร์ดมาตรฐานใหม่ ซึ่งอินเทลเป็นผู้กำหนดขึ้นมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความยาว
มากกว่าส่วนกว้าง แต่ขนาดเล็กกว่าแบบ AT เมนบอร์ดชนิดนี้ได้รับการออกแบบมาให้ซีพียูและ
หน่วยความจำอยู่ใกล้กันซึ่งทำให้ทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดีตลอดจน ซีพียูถูกวางอยู่ใกล้กับ
พัดลมระบายความร้อน จึงระบายความร้อนได้ดีขึ้นนอกจากนี้ยังได้กำหนดตำแหน่งและสีของ
ช่องสำหรับต่ออุปกรณ์ไว้ต่างกัน เพื่อให้จำได้ง่ายและเป็นมาตรฐานเดียวกันรวมทั้งสามารถที่จะ
สั่งปิดเครื่องจากวินโดว์ได้โดยไม่ต้องกดปุ่มปิดเครื่องเองแต่เมนบอร์ดชนิดนี้ต้องใช้กับตัวเคส
ชนิด ATX เหมือนกันเท่านั้นMicro ATXมีลักษณะรูปร่างทั่วไปจะเหมือนกับเมนบอร์ดแบบATX แต่ได้ลดจำนวนสล็อตลงเหลือเพียง
3-4สล็อตเพื่อให้ราคาจำหน่ายถูกลงแหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ไม่ต้องการเสียบการ์ด เพื่อเติมต่างๆบน
สล็อตมากนักflex ATXเป็นเมนบอร์ดแบบATX ที่มีขนาดเล็กที่สุด ใช้ประกอบกับเครื่องขนาดเล็กเพื่อประหยัดเนื้อที่
เมนบอร์ดชนิดนี้มักมีอุปกรณ์ Onboard เช่น การ์ดจอ การ์ดเสียงและการ์ดโมเด็มมาด้วยแล้ว
จึงมีสล็อตติดตั้งบนเมนบอร์ดเพียง 2 สล๊อตเท่านั้น





Mainboard (แผงวงจรหลัก)
เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมายแต่ส่วนสำคัญๆ ประกอบด้วย1. ชุดชิพเซ็ต ชุดชิพเซ็ตเป็นเสมือนหัวใจของเมนบอร์ดอีกที่หนึ่ง เนื่องจากอุปกรณ์ตัวนี้จะมีหน้าที่หลักเป็นเหมือนทั้ง อุปกรณ์ แปลภาษา ให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ดสามารถทำงานร่วมกันได้ และทำหน้าที่ควบคุม อุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำงานได้ตามต้องการ โดยชิพเซ็ตนั้นจะประกอบด้วยชิพเซ็ตนั้นจะประกอบไปด้วยชิพ 2 ตัว คือชิพ System Controller และชิพ PCI to ISA Bridge ชิพ System Controller หรือ AGPSET หรือ North Bridge เป็นชิพที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ อุปกรณ์หลักๆ ความเร็วสูงชนิดต่างๆ บนเมนบอร์ดที่ประกอบด้วยซีพียู หน่วยความจำแคชระดับสอง (SRAM) หน่วยความจำหลัก (DRAM) ระบบกราฟิกบัสแบบ AGP และระบบบัสแบบ PCI ชิพ PCI to ISA Bridge หรือ South Bridge จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกันระหว่างระบบบัสแบบ PCI กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีความเร็วในการทำงานต่ำกว่าเช่นระบบบัสแบบ ISA ระบบบัสอนุกรมแบบ USB ชิพคอนโทรลเลอร์ IDE ชิพหน่วยความจำรอมไออส ฟล็อบปี้ดิกส์ คีย์บอร์ด พอร์ตอนุกรม และพอร์ตขนาน ชุดชิพเซ็ตจะมีอยู่ด้วยกันหลายรุ่นหลายยี่ห้อโดยลักษณะการใช้งานจะขึ้นอยู่กับซีพียูที่ใชเป็นหลัก เช่นชุด ชิพเซ็ตตระกูล 430 ของอินเทลเช่นชิพเซ็ต 430FX, 430HX 430VX และ 430TX จะใช้งานร่วมกับซีพียู ตระกูลเพนเทียม เพนเที่ยม MMX, K5, K6, 6x86L, 6x86MX (M II) และ IDT Winchip C6 ชุดชิพเซ็ต ตระกูล 440 ของอิเทลเช่นชิพเซ็ต 440FX, 440LX, 440EX และชิพเซ็ต 440BX จะใช้งานร่วมกับ ซีพียูตระกูลเพนเที่ยมโปร เพนเที่ยมทู และเซลเลอรอน และชุดชิพเซ็ตตระกูล 450 ของอินเทลเช่นชุดชิพเซ็ต 450GX และ 450NX ก็จะใช้งานร่วมกับซีพียูตระกูลเพนเที่ยมทูซีนอนสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับ Server หรือ Workstation นอกจากนี้ยังมีชิพเซ็ตจากบริษัทอื่นๆ อีกหลายรุ่นหลายยี่ห้อที่ถูกผลิตออกมา แข่งกับอินเทลเช่นชุดชิพเซ็ต Apollo VP2, Apollo VP3 และ Apollo mVp3 ของ VIA, ชุดชิพเซ็ต Aladin IV+ และ Aladin V ของ ALi และชุดชิพเซ็ต 5597/98, 5581/82 และ 5591/92 ของ SiS สำหรับซีพียูตระกูลเพนเที่ยม เพนเที่ยม MMX, K5, K6, 6x86L, 6x86MX (M II) และ IDT Winchip C6 ชุดชิพเซ็ต Apollo BX และ Apollo Pro ของ VIA, ชุดชิพเซ็ต Aladin Pro II M1621/M1543C ของ ALi และชุดชิพเซ้ต 5601 ของ Sis สำหรับซีพียูตระกูลเพนเที่ยมทู และเซลเลอรอน ซึ่งชิพเซ้ตแต่ละรุ่น แต่ละยี้ห้อนั้นจะมีจุดดีจุดด้อยแตกต่างกันไป








2. หน่วยความจำรอมไบออส และแบตเตอรรี่แบ็คอัพ ไบออส BIOS (Basic Input Output System) หรืออาจเรียกว่าซีมอส (CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิด หนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ โดยในอดีต ส่วนของชิพรอมไบออสจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ชิพไบออส และชิพซีมอส ซึ่งชิพซีไปออสจะทำหน้าที่ เก็บข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนชิพซีมอสจะทำหน้าที่ เก็บโปรแกรมขนาดเล็ก ที่ใช้ในการบูตระบบ และสามารถเปลี่ยนข้อมูลบางส่วนภายในชิพได้ ชิพไบออสใช้พื้นฐานเทคโนโลยีของรอม ส่วนชิพซีมอสจะใช้เทคโนโลยีของแรม ดังนั้นชิพไบออสจึงไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้า ในการเก็บรักษาข้อมูล แต่ชิพซีมอส จะต้องการพลังงานไฟฟ้าในการเก็บรักษาข้อมูลอยตลอดเวลาซึ่งพลังงานไฟฟ้า ก็จะมาจากแบตเตอรี่แบ็คอัพที่อยู่บนเมนบอร์ด (แบตเตอรี่แบ็คอัพจะมีลักษณะเป็นกระป๋องสีฟ้า หรือเป็นลักษณะกลมแบนสีเงิน ซึ่งภายในจะบรรจุแบตเตอรรี่แบบลิเธี่ยมขนาด 3 โวลต์ไว้) แต่ตอ่มาในสมัย ซีพียตระกูล 80386 จึงได้มีการรวมชิพทั้งสองเข้าด้วยกัน และเรียกชื่อว่าชิพรอมไบออสเพียงอย่างเดียว และการที่ชิพรอมไบออสเป็นการรวมกันของชิพไบออส และชิพซีมอสจึงทำให้ข้อมูลบางส่วนที่อยู่ภายใน ชิพรอมไบออส ต้องการพลังงานไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูลไว้ แบตเตอรี่แบ็คอัพ จึงยังคงเป็นสิ่งจำเป็นอยู่จนถึง ปัจจุบัน จึงเห็นได้ว่าเมื่อแบตเตอรี่แบ็คอัพเสื่อม หรือหมดอายุแล้วจะทำให้ข้อมูลที่คุณเซ็ตไว้ เช่น วันที่ จะหายไปกลายเป็นค่าพื้นฐานจากโรงงาน และก็ต้องทำการเซ้ตใหม่ทุกครั้งที่เปิดเครื่อง เทคโนโลยีรอมไบออส ในอดีต หน่วยความจำรอมชนิดนี้จะเป็นแบบ EPROM (Electrical Programmable Read Only Memory) ซึ่งเป็นชิพหน่วยความจำรอม ที่สามารถบันทึกได้ โดยใช้แรงดันกระแสไฟฟ้าระดับพิเศษ ด้วยอุปกรณ์ ที่เรียกว่า Burst Rom และสามาถลบข้อมูลได้ด้วยแสงอุตราไวโอเล็ต ซึ่งคุณไม่สามารถอัพเกรดข้อมูลลงในไบออสได้ ด้วยตัวเองจึงไม่ค่อยสะดวกต่อการแก้ไขหรืออัพเกรดข้อมูลที่อยู่ในชิพรอมไบออส แต่ต่อมาได้มีการพัฒนา เทคโนโลยชิพรอมขึ้นมาใหม่ ให้เป็นแบบ EEPROM หรือ E2PROM โดยคุณจะสามารถทั้งเขียน และลบข้อมูล ได้ด้วยกระแสไฟฟ้าโดยใช้ซอฟต์แวร์พิเศษ ได้ด้วยตัวเองอย่างง่ายดายดังเช่นที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
PCI
PCI ย่อมาจาก Peripheral Component Interconnectคือระบบที่เชื่อมต่อระหว่างตัวประมวลผลและ อุปกรณ์ที่ใช้ป้องกัน ในการขยายเพิ่มเติมสล็อต คือการใช้งานสำหรับความเร็วสูง การใช้ PCI คอมพิวเตอร์สามารถรองรับ PCI cards ใหม่ทั้งคู่ แล้วกำลังจะรองรับการขยายโครงสร้างพื้นฐานทางอุตสาหกรรมของการ์ด พื้นฐานเดิมออกแบบโดยอินเทล PCI แบบเดิมเหมือนกับใบผ่านในการขนส่งข้อมูล อย่างไรก็ตาม PCI 2.0 คือไม่ยาวกว่าการส่งข้อมูลปกติ PCI จะออกแบบโดยการหาสัญญาณด้วย ความเร็วเวลาของตัวประมวลผล PCI เป็นสล็อตที่มีไว้สำหรับเพิ่มฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ เช่น เพิ่มการ์ดเชื่อมต่อแลน การ์ดวิดีโอ การ์ดเสียง จำนวนสล็อต PCI มีแตกต่างกันโดยทั่วไปจะมีให้ตั้งแต่ 2 ถึง 6 สล็อต



3. หน่วยความจำแคชระดับสอง หน่วยความจำแคชระดับสองนั้นเป็นอุปกรณ์ ตัวหนึ่งที่ทำหน้าเป็นเสมือนหน่วยความจำ บัฟเฟอร์ให้กับซีพียู โดยใช้หลักการที่ว่า การทำงานร่วมกับอุปกร์ที่ความเร็วสูงกว่า จะทำให้เสียเวลาไปกับการรอคอยให้อุปกรณ์ ที่มีความเร็วต่ำ ทำงานจนเสร็จสิ้นลง เพราะซีพียูมีความเร็วในการทำงานสูงมาก การที่ซีพียูต้องการข้อมูล ซักชุดหนึ่งเพื่อนำไปประมวลผลถ้าไม่มีหน่วยความจำแคช





















CPU Socket



ใช้สำหรับติดตั้งซีพียูเข้ากับเมนบอร์ด เมนบอร์ดที่ใช้กับซีพียูของอินเทลคือ Pentium 4 และ Celeron จะเรียกซ็อคเก็ตว่า SOCKET 478 ส่วนเมนบอร์ดสำหรับซีพียู AMD นั้นจะมีซ็อคเก็ตแบบ SOCKET 462 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า SOCKET A จุดสังเกตว่าเมนบอร์ดเป็นซ็อคเก็ตแบบใดนั้นก็ดูจากชื่อที่พิมพ์ไว้บนซ็อคเก็ต ส่วนความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งก็คือรอยมาร์ค ที่มุมของซ็อคเก็ต ถ้าเป็นซ็อคเก็น 478 จะมีรอยมาร์คอยู่ที่มุมหนึ่งด้าน ส่วนซ็อคเก็ต 462 จะมีรอยมาร์คที่มุมสองด้าน โดยรอยมาร์คจะตรงกับตำแหน่งของซีพียู เพื่อให้คุณติดตั้งซีพียูเข้ากับซ็อคเก็ตได้อย่างถูกต้อง
1. นางสาวสุธิดา แก้ววิเศษ เลขที่ 23
2.นางสาวสุพัตรา ถนอมพลกรัง เลขที่ 24
3. นายณัฐพงษ์ กองสิงห์ เลขที่ 31

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น