วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
โดยหลักการแล้ว ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่ทำงานตามหน้าที่ 4 ส่วนด้วยกัน คือ
1.) ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
2.) ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
3.) ส่วนแสดงผล (Output Unit)
4.) หน่วยความจำ (Memory Unit)
1.) ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)

ส่วนรับข้อมูล (Input Unit) เป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากคน และส่งต่อข้อมูลไปยัง หน่วยประมวลผล(Process Unit) เพื่อทำการประมวลผลต่อไป รูปแบบการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์รับข้อมูลจะอยู่ในรูปของการส่งสัญญาณเป็นรหัสดิจิตอล (หรือเป็นเลข 0 กับ 1) นั่นเอง อุปกรณ์ส่วนรับข้อมูล ได้แก่

- คีย์บอร์ด (keyboard)









- เมาส์ (mouse)




- สแกนเนอร์ (scanner)







- ไมโครโฟน(microphone)










- กล้องเว็บแคม (webcam)







อุปกรณ์ใน ส่วนรับข้อมูล ยังมีอีกมากมายและสามารถจะยังมีเพิ่มตามขึ้นไปเรื่อยๆ ตามการพัฒนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
2.) ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่รับมาจาก ส่วนรับข้อมูล(Input Unit) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์







3.) หน่วยแสดงผล (Output Unit)
หน่วยแสดงผล (Output Unit) เป็นหน่วยที่แสดงผลลัพธ์ที่มาจากการประมวลผลข้อมูล ของส่วนประมวลผลข้อมูล โดยปกติรูปแบบของการแสดงผล มีอยู่ 2 แบบ ด้วยกันคือ แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ และแบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้
- แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) และ เครื่องวาด (Plotter)

-เครื่องพิมพ์ (Printer)










- แบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้ เช่น จอภาพ(Monitor) , เครื่องฉายภาพ(LCD Projector) และ ลำโพง (Speaker)
-จอภาพ (monitor)












-เครื่องฉายภาพ (LCD Projector)








4.) หน่วยความจำ (Memory Unit)
หน่วยความจำ (Memory Unit) อุปกรณ์เก็บสถานะข้อมูลและชุดคำสั่ง เพื่อการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ หน่วยความจำชั่วคราวและหน่วยความจำถาวร


- หน่วยความจำชั่วคราว คือ แรม (RAM: Random Access Memory)เป็นหน่วยความจำที่ใช้ขณะคอมพิวเตอร์ทำงาน ข้อมูลและชุดคำสั่งจะหายไปทุกครั้งที่เราปิดเครื่อง

-RAM









- หน่วยความจำถาวรหรือ หน่วยความจำหลัก ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ Hard Disk ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล และ รอม (ROM: Read Only Memory) ที่ใช้ในการเก็บค่าไบออส หน่วยความจำถาวรจะใช้ในการเก็บข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์และจะไม่สูญหายเมื่อปิดเครื่อง

-Harddisk



















วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Lock Folder XP 3.6

สามารถเลือกออพชั่นการล้อคได้แบบหลากหลาย ทั้งแบบไฟล์ แบบโฟลเดอร์ และแบบทั้งไดรฟ์

สำหรับวิธีการลง และวิธีการใช้งาน มีคู่มือให้เรียบร้อยแล้วครับ สำหรับข้อแตกต่าง ผมจะบอกว่า โปรแกรมอื่นๆนั้นจะทำการสร้างพื้นที่(โฟลเดอร์)ขึ้น แล้วให้เราเอาไฟล์มาเก็บในนั้น ถึงจะซ่อนได้ สรุปคือ ซ่อนแค่โฟลเดอร์นั้นๆ โฟลเดอร์เดียว(โฟลเดอร์ของโปรแกรม) ซึ่งปัญหาคือ ถ้าเราต้องการซ่อนไฟล์ใหญ่มาก เราต้องเสียเวลาก็อปปี้ไปๆมาๆ

แต่สำหรับโปรแกรมตัวนี้ เราไม่จำเป็นต้องย้ายไฟล์มาไว้ในโฟลเดอร์ที่โปรแกรมสร้างขึ้น แต่ตัวโปรแกรม จะไปล็อคไฟล์หรือโฟลเดอร์นั้นๆแทน เช่น ผมล็อค โฟลเดอร์ในไดรฟ์ซี และอีกโฟลเดอร์ในไดรฟ์ดี ได้พร้อมกันเลย

โดยที่เราไม่ต้องก็อปปี้มาวางในโฟลเดอร์ใด เพียงแค่เราเลือกโฟลเดอร์ที่จะล็อค และกดล็อค แค่นั้น และเมื่อเราเลิกล็อค โฟลเดอร์นั้นก็จะกลับไปอยู่ที่เดิมของมัน

download Lock Folder XP 3.6

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

มาพร้อมแครกเรียบร้อยแล้วครับ อินเตอร์เฟซใช้งานง่าย และ สวย รวมทั้งขนาดโปรแกรมเล็กๆ ลองโหลดไปใช้กันครับ





เมื่อเราคลิกไอคอนโปรแกรม จะปรากฎหน้าต่างให้เรากรอกพาสเวิร์ด จากนั้นคลิกที่ปุ่ม โพรเท็ค แล้วเลือกชนิดของการป้องกัน เช่นป้องกันทั้ง ไดรฟ ป้องกัน แค่โฟลเดอร์ หรือป้องกันเป็นไฟล์



ในกรณีนี้ผมเลือกป้องกันเป็นโฟลเดอร์ เมื่อเลือกแล้วหน้าต่างโปรแกรมจะให้เราเลือกว่า จะป้องกันโฟลเดอร์ไหน ผมเลือก my picture



จากนั้นรายชื่อของโฟลเดอรืก็จะปรากฎในหน้าต่างของโปรแกรม เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อย ให้สังเกต ไอคอนรูปกุญแจ หากเราไปคลิกไฟล์ไหนในลิสต์รายการแล้ว ขึ้นว่า Locked หมายถึงล็อคโฟลเดอร์แล้ว แต่อันไหนขึ้นว่า Unlocked คือ ยังไม่ได้ล็อค และเมื่อเราเข้าไปหาโฟลเดอร์ที่เราล็อคไว้เราจะหาไม่พบ เพราะโฟลเดอร์นั้นจะถูกโปรแกรมป้องกันไว้ ต้องไปสั่งปลดล็อคในโปรแกรมก่อน ซึ่งเราจะมีพาสเวิร์ดที่จะเข้าไปสั่งปลดล็อคเพียงคนเดียว





ซึ่งถ้าเราจะปลดล้อคก็เพียงแค่ เลือกชื่อโฟลเดอร์ในลิสต์ของโปรแกรม แล้วกดปุ่ม Locked ให้กลายเป็น Unlocked เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อย
เมือ่เราใช้งานโฟลเดอร์นั้นแล้ว ก็อย่าลืม กลับมาสั่งล็อคไว้เหมือนเดิมละครับ ด้วยวิธีการเหมือนเดิมคือ เลือกโฟลเดอร์ แล้วกดปุ่ม Unlocked ให้กลายเป็น Locked



หรือหากเราต้องการลบรายการโพรเท็คออกจากระบบการป้องกัน ก้เพียงแค่คลิกเลือกชื่อโฟลเดอร์ แล้วเลือกกดปุ่ม รีมูฟ แค่นั้นครับ โฟลเดอร์นั้น ก็จะกลับมาอยู่ในระบบการทำงานแบบปกติ